การออม การลงทุน

เงินเฟ้อ 101: คืออะไร และต้องรับมืออย่างไร?

FWD Thailand

หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยุคนี้ การนำเงินไปเก็บสะสมไว้ในบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า “เงินเฟ้อ” เข้ามาเป็นอุปสรรคสำคัญ เพราะเจ้าสิ่งนี้จะทำให้เงินของเราที่มีจำนวนเท่าเดิม แต่มูลค่าจะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งฟังดูอาจน่ากลัว แต่หากเราเข้าใจเรื่องเงินเฟ้อเป็นอย่างดีก็ไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาอธิบายให้รู้กันแบบจบครบในบทความเดียว ว่าเงินเฟ้อคืออะไร พร้อมบอกวิธีการรับมือเงินเฟ้อที่ไม่ว่าใครก็ทำตามได้!  

เงินเฟ้อคืออะไร?

เงินเฟ้อ (Inflation) คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือในอีกแง่หนึ่ง ถ้าพิจารณาจากค่าของเงิน เงินเฟ้อคือภาวะที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจะซื้อของชิ้นเดิมต้องใช้เงินมากกว่าเดิม โดยเงินเฟ้อสามารถวัดได้ด้วยอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) ซึ่งคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเงินเฟ้อสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. เงินเฟ้อจากอุปสงค์ (Demand-Pull Inflation): เกิดจากช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว ผู้คนมีรายได้มากขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้าและบริการมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณสินค้าและบริการในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น
  2. เงินเฟ้อจากต้นทุน (Cost-Push Inflation): ในทางตรงกันข้าม เกิดจากช่วงเศรษฐกิจขาลงสวนทางกับต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน วัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นเพื่อรักษากำไร

นอกจากนี้ เงินเฟ้อยังสามารถเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น เงินเฟ้อจากการพิมพ์เงินเฟียตมากเกินไป การขาดแคลนสินค้าและบริการ การขาดดุลการค้า เป็นต้น

เงินเฟียต (Fiat Money) เป็นสกุลเงินที่ออกโดยรัฐบาล มูลค่าของเงินเฟียตไม่ได้ถูกกำหนดจากมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ที่รองรับสกุลเงินนั้น แต่ถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานและความมั่นคงของรัฐบาลที่ออกเงิน

ในอดีต เงินมักถูกทำจากสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่า เช่น ทองคำหรือเงิน เงินเหล่านี้มีมูลค่าในตัวของมันเองเพราะสามารถใช้เพื่อซื้อสินค้าและบริการได้ ในทางกลับกัน เงินเฟียตไม่มีมูลค่าในตัวของมันเอง แต่มีมูลค่าเพียงเพราะรัฐบาลกำหนดให้ใช้

inflation_effect_expense.jpg

ผลกระทบของเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเราตลอดเวลา และค่อย ๆ คืบคลานเข้าหาอย่างช้า ๆ ทว่ากลับไม่ค่อยมีใครทันสังเกต รู้ตัวอีกทีก็ได้รับความเดือดร้อน ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันในหลายมิติเสียแล้ว โดยผลกระทบของเงินเฟ้อที่เห็นภาพชัดเจนมีดังต่อไปนี้

  • ทำให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น: เงินเฟ้อทำให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร พลังงาน ค่าครองชีพอื่น ๆ ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง
  •  ทำให้เงินออมมีมูลค่าลดลง: เงินเฟ้อยังทำให้มูลค่าของเงินลดลง โดยเงินออมที่เก็บไว้ในปัจจุบันจะมีมูลค่าลดลงในอนาคต ตัวอย่างเช่น หากคุณมีเงินออมไว้ 100,000 บาท ในปัจจุบัน หากเงินเฟ้ออยู่ที่ 5% เงินออม 100,000 บาท จะมีมูลค่าเท่ากับ 95,238 บาท ในปีหน้า
  • ลดความมั่งคั่งของผู้บริโภค: อีกหนึ่งผลกระทบคือ เงินเฟ้อทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ผู้บริโภคไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากเท่าที่ต้องการ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความมั่งคั่งลดลงตามไปด้วย

วิธีรับมือเงินเฟ้อ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินเฟ้อคือสิ่งที่น่ากลัว และส่งผลกระทบต่อเราอย่างมาก ทว่า ความน่ากลัวดังกล่าวสามารถลดน้อยลงได้ ถ้าเรามีวิธีรับมือเงินเฟ้ออย่างถูกต้อง ดังต่อไปนี้

  •  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย: ผู้บริโภคควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยเน้นซื้อสินค้าและบริการที่จำเป็นเท่านั้น และลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น รับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง ซื้อเสื้อผ้าน้อยลง เป็นต้น
  • ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่ผันผวนกับเงินเฟ้อ: ผู้บริโภคสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่ผันผวนกับเงินเฟ้อ เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น การลงทุนเหล่านี้จะช่วยรักษามูลค่าของเงินออมไม่ให้ลดลงตามเงินเฟ้อได้
  • ลงทุนในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อ: อีกหนึ่งวิธีการลงทุนที่สามารถรับมือเงินเฟ้อได้ดีก็คือ การเลือกลงทุนในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 5-7% ต่อปี ดังนั้น การลงทุนในหุ้นกลุ่มศักยภาพสูงเช่นหุ้นเทคโนโลยี หุ้นธนาคาร หุ้นพลังงาน ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนมากกว่าอัตรานี้จึงตอบโจทย์ อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นย่อมมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความเสี่ยง แต่อยากให้เงินออมเติบโตในอัตราที่พอต่อกรกับเงินเฟ้อได้ ประกันสะสมทรัพย์คืออีกรูปแบบที่ตอบโจทย์เช่นกัน
inflation_plan_for_insurance.jpg

รับมือเงินเฟ้ออย่างมั่นคงด้วยประกันสะสมทรัพย์ จากเอฟดับบลิวดี

ประกันสะสมทรัพย์คือหนึ่งในช่องทางการลงทุนที่สามารถต่อกรกับเงินเฟ้อได้ ดังนั้น สำหรับใครที่ต้องการซื้อประกันสะสมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในการเงิน สร้างวินัยในการเก็บเงินก้อน ทั้งยังช่วยรับมือเงินเฟ้อได้ในระยะยาว เอฟดับบลิวดีขอแนะนำประกันสะสมทรัพย์ออนไลน์ อีซี่ อี-เซฟ 10/5 จ่ายเบี้ยฯ เพียง 5 ปี ลดหย่อนภาษีได้ทุกปีเต็ม ๆ สูงสุด 100,000 บาท (ตามประกาศของกรมสรรพากร) สิ้นปีที่ 1-5 รับเงินคืน 4% ของทุนประกัน และสิ้นปีที่ 6-9 รับเงินคืน 5% ของทุนประกัน  พร้อมซื้อสะดวกผ่านออนไลน์ ได้รับความคุ้มครองทันที

ข้อมูลอ้างอิง:

Inflation Has Arrived. Here’s What You Need to Know.

What You Should Know About Inflation

Share