ขยันตัวเป็นเกลียวทั้งงานประจำ ทั้งขายของออนไลน์ออเดอร์เข้ารัวๆ มีรายได้จากหลายทางแบบนี้ ต้องไม่พลาดการวางแผนภาษีให้ดี พร้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้ของคุณ เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่า สิ่งที่ต้องรู้อันดับต้นๆ เลยคือ รายได้ทั้งหมดของคุณมีอะไรบ้าง จัดเป็นเงินได้ประเภทใดตามที่กฎหมายกำหนด และรายได้นั้นกฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร เพื่อที่จะได้วางแผนการเงินเพื่อลดหย่อนภาษีได้ถูกต้อง
รายได้ | ประเภทรายได้ | หักค่าใช้จ่าย |
เงินเดือน หรือค่าตอบแทนจากงานประจำ | ประเภทที่ 1 เงินได้ตามมาตรา 40 (1) | รายได้สองประเภทนี้รวมกัน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าจ้างทำงานเป็นรายครั้ง | ประเภทที่ 2 เงินได้ตามมาตรา 40 (2) | |
ค่าลิขสิทธิ์ งานเขียน ทรัพย์สินทางปัญญา ค่า Goodwill เงินปี เงินรายปีจากพินัยกรรม นิติกรรมหรือคำพิพากษาศาล | ประเภทที่ 3 เงินได้ตามมาตรา 40 (3) | เฉพาะเงินได้จากทรัพย์สินทางปัญญา หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทางการเงิน | ประเภทที่ 4 เงินได้ตามมาตรา 40 (4) | - |
ค่าเช่าทรัพย์สิน | ประเภทที่ 5 เงินได้ตามมาตรา 40 (5) | หักเหมา 10-30% ของเงินได้หรือตามจริง |
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ 6 อาชีพ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์) กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม | ประเภทที่ 6 เงินได้ตามมาตรา 40 (6) | การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์) หักเหมา 60% ของเงินได้หรือตามจริง นอกเหนือจากนี้ |
ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ โดยเป็นผู้จัดหาแรงงานและค่าสินค้าเอง | ประเภทที่ 7 เงินได้ตามมาตรา 40 (7) | หักเหมา 60% ของเงินได้หรือตามจริง |
ขายของออนไลน์ รายได้จากการเป็นดารา นักแสดงกำไรจากการขายกองทุน | ประเภทที่ 8 เงินได้ตามมาตรา 40 (8) | หักเหมา 40-60% ของเงินได้หรือตามจริง |
*
เงื่อนไขตามที่กรมสรรพากรกำหนด
เมื่อรู้แล้วว่ารายได้ทั้งหมดมีอะไรบ้าง และหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร คราวนี้ก็มาเริ่มวางแผนหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีกันได้แล้ว ลองดูตัวอย่างที่เรายกมาอธิบายประกอบความเข้าใจกัน
ตัวอย่าง : พนักงานประจำ ที่ขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริม
รายการ | รายได้ประเภทที่ 1 | รายได้ประเภทที่ 8 |
รายได้ (ปีละ) | 1,000,000 | 400,000 |
ค่าใช้จ่าย | 100,000 | 240,000 |
ลดหย่อนส่วนตัว | 60,000 | - |
รายได้สุทธิ | 840,000 | 160,000 |
ตามตัวอย่างนี้จะพบว่ามีเงินได้สุทธิ 1,000,000 บาท (840,000 + 160,000) มีอัตราภาษี 20% เมื่อคำนวณออกมาจะพบว่าต้องเสียภาษีทั้งหมด 115,000 บาท* แล้วแบบนี้เราจะบริหารสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร
กองทุน SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปีภาษี โดยกองทุน SSF ต้องถือครองหลังซื้อเป็นเวลา 10 ปีเต็ม
หมายเหตุ : การใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
ประกันชีวิต และประกันชีวิตสะสมทรัพย์
ซึ่งทำหน้าที่ลดหย่อนได้สูงสุดถึง 1 แสนบาทนั้น มีดีมากกว่าแค่นำไปลดหย่อนภาษี เพราะหน้าที่ของประกันชีวิต คือ การคุ้มครองครอบครัวหรือคนที่รักจากความเสี่ยงทางด้านการเงิน หากเกิดเรื่องที่ไม่คาดคิดขึ้นกับตัวคุณเองเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดคิดด้วยความคุ้มครองชีวิตวงเงินหลักล้านบาท แต่จ่ายสบายเพราะค่าเบี้ยประกันหลักพันต่อปีเท่านั้น ซื้อเองได้ง่ายๆ
เตรียมพร้อมเพื่อคนที่คุณรัก ด้วยประกันชีวิตที่คุ้มครองสูงสุด 1,500,000 บาท
อยากมีเงินเก็บต้องวางแผนออมด้วยประกันสะสมทรัพย์ และเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้
หรือมองหาประกันลดหย่อนภาษีที่เหมาะกับคุณ