การออม การลงทุน

ภาษีขายของออนไลน์ที่พ่อค้าแม่ค้าควรรู้ !

FWD Thailand

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่กังวลเกี่ยวกับเรื่องภาษี เพราะไม่รู้ว่าการทำธุรกิจขายของออนไลน์จะต้องเสียภาษีแบบไหน หรือมีรายได้เท่าไรถึงเข้าข่ายที่ต้องจ่ายภาษี มาทำความเข้าใจถึงเรื่องนี้กันให้มากขึ้น เพื่อให้เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถวางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาษีที่ต้องจ่ายจริงในแต่ละปีได้อย่างคุ้มค่า   

ขายออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหน ?

พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้เกิดจากการขายของออนไลน์ผ่าน Social Media Platform และ Market Place Platform จะถูกจัดให้เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ซึ่งเป็นเงินได้ของบุคคลธรรมดา ดังนั้นจึงต้องนำรายได้ส่วนนี้มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ เมื่อรายได้จากการขายเกินเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประกอบการยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มเติมด้วย 

 

รายได้เท่าไร ? ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

หากขายของออนไลน์จนมีรายได้รวมทั้งปีเกิน 1,800,000 บาท จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน หลังจากที่มีรายรับเกินเกณฑ์ดังกล่าว การจด VAT สามารถทำได้ที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่หรือยื่นผ่าน อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป  

อย่างไรก็ตาม การจด VAT จะส่งผลต่อการขายสินค้า ดังนั้นจึงควรวางแผนราคาสินค้าให้ครอบคลุม VAT 7% ตั้งแต่แรก เพื่อให้ราคาไม่ต้องมีการปรับขึ้นในภายหลัง 

เงินเข้าบ่อย ๆ ต้องเสียภาษีไหม ?

ปัจจุบันใคร ๆ ก็หันมาใช้อีเพย์เมนต์ (e-payment) โดยธนาคารจะต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากร หากเข้าข่าย “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ” หรือธุรกรรมการฝากเงิน การรับโอนเงิน (เฉพาะเงินโอนเข้าบัญชี) รวมกันทุกบัญชีใน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมภายในปีนั้น ๆ โดยธุรกรรมลักษณะเฉพาะนี้ไม่ได้กำหนดแค่เฉพาะคนขายของออนไลน์เท่านั้น แต่ใช้กับทุกคน 

  • จำนวนเงินโอนเข้าบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป โดยไม่กำหนดยอดรวมธุรกรรมเงินโอนเข้าบัญชี 

  • จำนวนเงินโอนเข้าบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป โดยยอดรวมธุรกรรมเงินโอนเข้าบัญชีตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป 

ถ้าเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งธนาคารจะส่งข้อมูลให้สรรพากร โดยผู้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด จึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างถูกต้อง เก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และยื่นแสดงรายการภาษีให้ครบถ้วน 

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถวางแผนลดหย่อนภาษีขายของออนไลน์ ปี 2567 ด้วยประกันสุขภาพออนไลน์ที่นอกจากจะได้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยแล้ว ยังนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย อย่างประกันสุขภาพออนไลน์ Easy E-Health ประกันที่เหมาจ่ายค่ารักษาให้ตามจริงสูงสุด 1,500,000 บาท พร้อมค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD (ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือก) และยังสามารถนำเบี้ยประกันภัยในส่วนคุ้มครองชีวิตไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเบี้ยประกันภัยสุขภาพหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท (รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท) ได้อีกด้วย 

 

tax-for-online-sellers_2.jpg

ขายของออนไลน์ ยื่นภาษีอย่างไร เมื่อไร ? 

คนขายของออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออายุเท่าไร หากคนโสดที่มีรายได้ทั้งปีเกิน 60,000 บาท หรือคนที่มีคู่ (สมรส) ที่มีรายได้ทั้งปีเกิน 120,000 บาท (สมรส) ต้องยื่นภาษีร้านค้าออนไลน์ ปี 2567 ทั้งหมด 2 รอบ 

  • ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายนของปีเดียวกัน 

  • ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90) วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคมของปีถัดไป 

หากมีรายได้จากการขายทั้งปีเกิน 1,800,000 บาท ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาท ณ สรรพากรเขตพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต และทุกเดือนต้องคำนวณมูลค่าสินค้าเพื่อนำส่งให้สรรพากรทุกเดือน ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป 

ภาษีมูลค่าเพิ่มส่งผลโดยตรงต่อการตั้งราคาสินค้าของคนขายของออนไลน์ จึงควรวางแผนไว้ก่อนด้วยการเพิ่มราคาสินค้าเข้าไปอีก 7% ตั้งแต่แรกเพราะลูกค้าอาจจะไม่พอใจได้ถ้าขึ้นราคาสินค้าหลังจากที่ร้านไปจดภาษีมูลค่าเพิ่ม 

tax-for-online-sellers_3.jpg

ลดหย่อนภาษีสำหรับคนขายของออนไลน์

  1. หักค่าใช้จ่ายตามประเภทของรายได้ที่ 8 เงินได้ตามมาตรา 40 (8) แบบเหมา 40-60% ของเงินได้หรือตามจริง 

  2. ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดถึง 100,000 บาท/ปี สำหรับประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 

 หมายเหตุ : 

  • การใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร 

  •  ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสรรพากร