การออม การลงทุน

"คนมีคู่" วางแผนภาษีอย่างไรถึงจะดีและเหมาะสมสุด?

FWD Thailand

คนมีคู่สามารถวางแผนภาษีประจำปี เพื่อเพิ่มสิทธิลดหย่อนภาษีและยื่นภาษีได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะแยกยื่นภาษีหรือรวมยื่นภาษี แบบไหนได้ประโยชน์จากการประหยัดภาษีมากกว่ากัน

วางแผนลดหย่อนภาษีของคนมีคู่

สำหรับคู่ที่มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนั้น การวางแผนภาษีสามารถเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละครอบครัว ไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัว แต่มีข้อแนะนำหลักๆ 4 ข้อคือ

  1. สำรวจรายได้และภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เพื่อกำหนดแบบในการยื่นภาษีว่าจะยื่นคู่หรือยื่นเดี่ยว
  2. หากคู่สมรสไม่มีรายได้ตลอดปีภาษี สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อน 60,000 บาทต่อปี (เงื่อนไขตามที่สรรพากรกำหนด)
  3. หากมีแพลนต้องกู้ยืมเงิน หรือมีเกณฑ์ต้องเสียดอกเบี้ยเพื่อที่อยู่อาศัยมากกว่า 100,000 บาทต่อปี วางแผนภาษีด้วยการแยกกันกู้เพื่อจะได้ประโยขน์ทางภาษีมากกว่า แต่ถ้าดอกเบี้ยที่เสียไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ควรให้ฝ่ายที่มีรายได้สูงกว่าเป็นผู้ยื่นกู้ และนำสิทธิ์มาลดหย่อนภาษี
  4. พยายามกระจายรายได้ทั้งสามีและภรรยา เพื่อให้เข้าเกณฑ์การยื่นเดี่ยว เนี่องจากฐานภาษีประเทศไทยเป็นแบบอัตราก้าวหน้า วิธีนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระภาษีที่ต้องจ่ายได้ แต่หากมีการยื่นภาษีร่วมกัน อาจส่งผลให้รายได้เพิ่มมากขึ้นและตกอยู่ในฐานภาษีสูง นอกจากนี้ ควรวางแผนเพิ่มสิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามเป้าหมายชีวิต เช่น ประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ และกองทุนร่วมกับการวางแผนภาษีด้วย

เอฟดับบลิวดี ฟอร์ เซฟวิ่ง 20/10 ตัวช่วยวางแผนภาษีผ่านประกันสะสมทรัพย์ที่มีเงินคืนทุกปี และมีเงินก้อนเมื่อครบสัญญา (เงินคืนตามผลประโยชน์จากประกันชีวิตได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามที่สรรพากรกำหนดด้วย)

  • รับเงินคืน 5% ของทุนประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-19
  • ครบสัญญารับเงินก้อน 420% ของทุนประกันภัย
  • คุ้มครองชีวิตนาน 20 ปี ชำระค่าเบี้ยประกัน 10 ปี
  • ชำระค่าเบี้ยประกัน เริ่มต้น 2,025 บาท / เดือน (ทุนประกัน 50,000 บาท)
  • ชำระผ่านบัตรเครดิตได้ทั้งรายเดือนและรายปี
  • ค่าเบี้ยประกันสามารถนำลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริง หรือสูงสุดถึง 100,000 บาท (เป็นไปตามประกาศของกรมสรรพากร)
tax-for-couples-2.webp

การยื่นภาษีของคนมีคู่

1. แยกยื่นภาษี

  • รายได้อยู่ในฐานภาษีเดียวกัน ต่างคนต่างแยกยื่นภาษีจะดีกว่า เพราะการแยกกันยื่นจะทำให้ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาททั้งคู่และเสียภาษีน้อยกว่า
  • คู่สมรสที่มีรายได้จากการทำธุรกิจร่วมกัน แบ่งรายได้ยื่นแบบแสดงรายการฝ่ายละ 50% ได้ รวมถึงใช้สิทธิค่าลดหย่อนภาษีใกล้เคียงกัน ควรแยกยื่นสะดวกกับทั้ง 2 ฝ่าย และทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีทั้งคู่

2. รวมยื่นภาษี

  • คู่สมรสมีรายได้ต่างกันมาก จึงรวมรายได้กันและให้ฝ่ายที่มีรายได้มากกว่าเป็นผู้ยื่นแบบ เพื่อรวมสิทธิค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ ของฝ่ายที่มีรายได้น้อย ที่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มสิทธิ์ ไปให้อีกฝ่ายที่มีภาระภาษีสูงกว่าได้ใช้ประโยชน์
  • คู่สมรสไม่มีรายได้ แต่มีค่าลดหย่อนมากให้ยื่นภาษีรวมกัน เพราะฝ่ายที่มีรายได้สุทธิที่จะต้องเสียภาษีจะได้ใช้ประโยชน์จากค่าลดหย่อนภาษีของคนที่ไม่มีรายได้ ได้มากกว่า เช่น ฝ่ายหนึ่งไม่มีรายได้จากการทำงานประจำ แต่สามารถหักค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบิดามารดา การเลี้ยงดูบุตร ถ้าแยกยื่นจะเป็นการใช้ค่าลดหย่อนไม่คุ้มค่าในการประหยัดภาษี

3. “แยกยื่นภาษีเฉพาะเงินเดือน” ของตัวเอง ส่วนเงินได้อื่นๆ “ยื่นภาษีรวม” กับอีกฝ่าย

  • คนที่ได้เงินเดือนสูงกว่ายื่นเฉพาะรายได้ของตัวเอง และนำรายได้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานประจำมายื่นรวมกับคู่สมรสฝ่ายคนที่มีรายได้น้อยกว่า
  • คนที่มีรายได้น้อยกว่า ยื่นรายได้ของตัวเองรวมกับเงินได้อื่นๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน ดอกเบี้ย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระภาษีที่ต้องจ่าย ตรงนี้จะช่วยประหยัดภาษีได้มากทีเดียว

การยื่นแบบแสดงรายการของคู่สมรสนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว สามารถเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละครอบครัวจะ “รวมยื่น” หรือ “แยกยื่น” ก็ได้ ขอเพียงภาพรวมจะอยู่บนหลักการได้ประโยชน์จากการประหยัดภาษีสูงสุด และถูกต้องตามกฎหมายเป็นสำคัญ สนใจวางแผนภาษีลดหย่อนด้วยประกันสะสมทรัพย์ เอฟดับบลิวดี ฟอร์ เซฟวิ่ง 20/10 หรือเลือกประกันสะสมทรัพย์ออนไลน์ Speed Saving 12/3 ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงหรือสูงสุดถึง 100,000 บาท (เงื่อนไขตามที่สรรพากรกำหนด)

 

*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง