สำหรับมนุษย์ออฟฟิศแบบเราอีกหนึ่งภารกิจที่ต้องทำทุกต้นปีก็คือการยื่นภาษีนั่นเอง
ซึ่งทุกคนก็น่าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าเราจะได้รับการลดหย่อนภาษีจากช่องทางต่าง ๆ ตามที่สรรพากรกำหนด แต่การจะได้ลดหย่อนมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคจัดการภาษีของแต่ละคนด้วยเช่นกัน
วันนี้เราจึงมีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณวางแผนภาษีในปี 2567 นี้ แล้วจ่ายภาษีลดลงในต้นปีหน้า
แถมบางทีอาจจะมีเงินคืนอีกด้วย ซึ่งจะมีเทคนิคอะไรบ้างไปดูกันเลย
หากอยากรู้วิธีคำนวณรายได้และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คลิก
รายได้ คือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการทำกิจกรรมหรือกิจการต่าง ๆ
ซึ่งมีทั้งเงินได้ที่ต้องนำมาเสียภาษี หรือที่เรียกว่า ‘รายได้พึงประเมิน’ 8 ประเภท และเงินได้อื่น ๆ ที่ได้รับการยกเว้นภาษี เช่น
เงินที่ได้รับจากบุพการีตามประเพณีไม่เกิน 20 ล้านบาท
เงินได้รับจากบุคคลอื่นตามประเพณีไม่เกิน 10 ล้านบาท
เงินที่ได้จากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากออมสิน
เงินทดแทนจากประกันประเภทต่าง ๆ
เงินค่าบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ
เบี้ยยังชีพคนพิการและผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นเหล่านี้ หากเราสับสนและนำมารวมกับรายได้พึงประเมินอื่น ๆ อาจทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็นได้ ดังนั้นก่อนยื่นภาษีจึงควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า รายได้ที่เรายื่นต่อสรรพากรไม่มีส่วนที่ได้รับการยกเว้นติดมาด้วย
1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
ผู้ที่มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว โดยปกติแล้วจะได้ค่าลดหย่อนภาษี ดังต่อไปนี้
ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท
บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 คนละ 60,000 คน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน
ค่าลดหย่อนกรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนกรณีอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
ค่าฝากครรภ์หรือทำคลอด ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงและไม่เกิน 60,000 บาท
2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
ผู้ที่มีการซื้อประกัน เงินออม และการลงทุน สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ดังนี้
กองทุนประกันสังคม ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท
ค่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ที่ให้ความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
ประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ รวมทุกกรมธรรม์ไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันชีวิตของคู่สมรส รวมทุกกรมธรรม์ไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ลดหย่อนตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 25,000 บาท
ประกันสุขภาพของพ่อแม่ และคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ลดหย่อนตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท
ทั้งนี้ ค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสะสมทรัพย์ และประกันสุขภาพ รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อนำค่าซื้อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ มารวมกันแล้วสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
เงินบริจาคมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ
เงินบริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ เป็นแบบลดหย่อนภาษี 2 เท่า โดยในปี 2567 สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้
เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงสูงถึง 10,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
สำหรับค่าลดหย่อนในส่วนนี้ จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปี 2567 มีดังนี้
Easy e-Receipt 2567 ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการที่มีใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2567
ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง 2567 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท ตามที่จ่ายจริง สำหรับการไปท่องเที่ยวในจังหวัดรอง 55 จังหวัด ประกอบด้วยค่าบริการท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ ค่าแพ็กเกจทัวร์ ค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ต หรือโฮมสเตย์ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม-30 พฤศจิกายน 2567 (รอประกาศเป็นกฎหมาย)
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568 ลดหย่อนได้ 10,000 บาท ต่อจำนวนค่าก่อสร้างที่จ่ายจริงทุก 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยจำกัดค่าก่อสร้างบ้านใหม่สูงสุดไม่เกิน 10,000,000 บาท และเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567-31 ธันวาคม 2568
สำหรับคนที่ต้องการลดหย่อนภาษีในปี 2567 อาจสงสัยว่าจะสามารถซื้ออะไรได้บ้าง เพื่อช่วยให้การจ่ายค่าภาษีลดน้อยลง เรามีแผนประกันชีวิตและการลงทุนมาแนะนำ ดังนี้
1. แผนประกันชีวิตที่น่าสนใจ
เพราะค่าเบี้ยประกันชีวิตของตนเองสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สำหรับประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป อย่าง FWD Easy E-Life แผนประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองนาน 10 ปี ด้วยวงเงินประกัน 1,000,000 บาท แต่จ่ายเบี้ยในหลักพัน ช่วยลดหย่อนภาษีและคุ้มครองชีวิตของคุณไปพร้อม ๆ กัน
ค้นหาประกันชีวิตที่ช่วยลดหย่อนภาษี คลิก
2. ประกันสุขภาพตนเอง
ส่วนใครที่มีประกันชีวิตอยู่แล้ว ก็สามารถหาแผนประกันสุขภาพดี ๆ มาลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ โดยประกันสุขภาพที่น่าสนใจอย่าง ประกัน FWD Prima Care แผนประกันสุขภาพที่พร้อมดูแลค่าใช้จ่ายเมื่อต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล และคุ้มครองค่ารักษาต่อเนื่องหลังออกจากโรงพยาบาล หรือ ประกัน FWD OPD Plus ที่ช่วยคุณแบ่งเบาค่ารักษาในกรณีผู้ป่วยนอก เจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือยามที่คุณต้องการ
3. เข้าร่วมกองทุน กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
กองทุนเหล่านี้จะเป็นกองทุนที่เมื่อเราลงทุนไปแล้ว องค์กรที่เราทำงานอยู่จะช่วยสมทบเงินเข้าไปเพิ่มเติมจากเงินที่เราลงทุนไปในอัตราที่องค์กรกำหนด โดยการเข้าร่วมกองทุนเหล่านี้สามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
4. ซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุน SSF หรือกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว คือกองทุนที่สนับสนุนให้ประชาชนออมเงินในระยะยาว โดยจะต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี เพื่อจะได้นำมาสามารถนำมาหักภาษีได้
ส่วนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คือกองทุนที่สนับสนุนในประชาชนมีเงินออมหลังเกษียณ โดยกองทุนประเภทนี้จะต้องถือครองจนถึงอายุ 55 ปี แต่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ประกันภัยบางประเภทไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ตามเงื่อนไขจากกรมสรรพากร ประกันภัยที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ จะต้องเป็นประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น โดยประกันชีวิตจะต้องที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และในกรณีที่มีปันผลหรือผลตอบแทน จะต้องได้รับปันผลไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันเท่านั้น
ซึ่งแผนประกันภัยที่มีเงื่อนไขนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันวินาศภัย หรือประกันการเดินทาง จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันภัยมาลดหย่อนภาษี เราจะต้องทำความเข้าใจ และสอบถามบริษัทประกันให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ
นอกจากเทคนิคทั้ง 4 ข้อที่เราเอามาฝากแล้ว การศึกษารายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมก็จำเป็นเช่นกัน เพื่อให้การวางแผนภาษีของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายในปีหน้าได้แน่นอน
อ้างอิง
- ค่าลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดา - iTAX
- เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี - iTAX
- ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง? – กรมสรรพากร