ประกันสังคมสิทธิขั้นพื้นฐานของคนวัยทำงานทุกคน พวกเราจึงต้องมีการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยเงินส่วนหนึ่งจะเป็นเงินออมหลังเกษียณ หรือ "บำเหน็จและบำนาญชราภาพ" นั่นเอง แต่รู้หรือไม่ว่าส่งประกันสังคมมาก็หลายปี...เกษียณแล้วได้รับเงินเท่าไร สิทธิประโยชน์หลังเกษียณที่จะได้รับพอเกษียณสุขแบบพอดีๆ อย่างที่คิดไว้หรือยัง
เงินชราภาพประกันสังคม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ “เงินบำเหน็จชราภาพ” ที่เป็นการจ่ายเงินเป็นก้อนในครั้งเดียว และ “เงินบำนาญชราภาพ” ที่จะได้รับเงินแบบรายเดือนไปตลอดชีวิต เราไม่สามารถเลือกเองได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ เกษียณแล้วได้รับเงินเท่าไร ขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามเงื่อนไขของกองทุนประกันสังคม
คนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์หลังเกษียณจากประกันสังคม หรือเงินชราภาพต้องเป็นผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และ 39 ซึ่งจะได้รับก็ต่อเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน อยากรู้ว่าเกษียณแล้วได้รับเงินเท่าไร เช็กยอดเงินสะสมในประกันสังคมด้วย SSO CONNECT บัตรประกันสังคมบนมือถือ คลิกที่นี่
ใครที่ลองเข้าไปเช็กยอดเงินเกษียณจากประกันสังคมแล้วอุทานเบาๆ ว่า อุ๊ย.. สิทธิประโยชน์หลังเกษียณที่ได้ท่าทางอาจจะไม่พอเกษียณสุขแบบพอดีๆ อย่างที่คิดแล้วหล่ะ อีกทางเลือกคือ ออมผ่านประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ที่การันตีเงินคืนแบบรายงวดทุกปีๆ และเงินก้อนคืนเมื่อครอบสัญญาก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ทำให้อะไรๆ ลงตัวขึ้น หากยังตัดสินใจไม่ได้ว่า ซื้อประกันสะสมทรัพย์ที่ไหนดี ซื้อประกันสะสมทรัพย์แบบไหนดี ลองแวะมาดูประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ของเอฟดับบลิวดีที่มีหลากหลายแบบตอบโจทย์ทุกเป้าหมายของการออม
ออมผ่านประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ถือเป็นภาคสมัครใจที่ทำแล้วคุ้มเพราะได้ถึง 2 ต่อ นั่นคือ
การเลือกวางแผนออมผ่าน ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จึงช่วยให้คุณวางแผนเกษียณได้ลงตัวมากขึ้นเพราะสามารถวางแผนได้ว่าเกษียณแล้วได้รับเงินเท่าไรนั่นเอง
การที่จะได้รับสิทธิประโยชน์หลังเกษียณ หรือเงินบำนาญต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมถึง 15 ปี และมีอายุครบ 55 ปี และต้องลาออกจากประกันสังคม ซึ่งมาถึงตรงนี้ต้องเลือกแล้วว่าจะรับเงินรายเดือน (เงินบำนาญ) หรือเลือกสิทธิ์การรักษาในโรงพยาบาลประกันสังคมต่อ ต้องเลือกอย่างใดหย่างหนึ่ง เก็บไว้ทั้งสองอย่างไม่ได้นะ ซึ่งต้องมีการดำเนินเรื่องกรอกแบบฟอร์มพร้อมแนบเอกสารประกอบการยื่นคำขอไปยังสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ บริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือยื่นผ่านทางไปรษณีย์
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนแบบโอนเข้าบัญชีสะสมทรัพย์อัตโนมัติได้เลย เพราะบริการออนไลน์ของเอฟดับบลิวดีเป็นเรื่องจิ๊บๆ ทำเรื่องครั้งเดียวทั้งเงินคืนระหว่างปีกรมธรรม์และเงินคืนเมื่อครบสัญญาก็จะโอนตรงเข้าบัญชีออมทรัพย์ที่ต้องการได้เลย
แต่ก่อนที่จะถึงวันนั้นสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเกษียณ คือ ประกันชีวิตและประกันสังคมก็มีบทบาทสำคัญเรื่องการลดหย่อนภาษีด้วย โดยที่เบี้ยประกันแบบสะสมทรัพย์สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท (เงื่อนไขตามข้อกำหนดของสรรพากร) ในขณะที่ประกันสังคมหักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท ยกเว้นปีไหนครม. มีมติลดจ่ายประกันสังคมอัตราพิเศษก็จะทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประกันสังคมได้ถึง 9,000 บาทนั่นเอง
ลูกค้าเอฟดับบลิวดีที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถแจ้งเราเพื่อส่งเรื่องไปที่สรรพากรได้เลย คลิกที่นี่
หากเสียชีวิตก่อนอายุครบ 55 ปี ผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิ์ขอรับเงินบำเหน็จแทน ไม่มีสิทธิ์รับเป็นเงินบำนาญ หากเป็นการเสียชีวิตหรือสูญหายระหว่างการทำงาน และมีเหตุให้เชื่อได้ว่าเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี ผู้รับผลประโยชน์ (ผู้จัดการศพ) เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุ จะได้รับค่าทำศพจากกองทุนเงินทดแทนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 12 ก.ค. 2564)
หากผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนรับเงินครบกำหนดสัญญา บริษัทประกันจะจัดสรรความคุ้มครองตามกรมธรรม์กรณีเสียชีวิต ให้กับผู้รับประโยชน์ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ลูกค้าเอฟดับบลิวดี ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ได้สูงสุดถึง 5 คน และกำหนดสัดส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ด้วยตัวเอง ผ่านบริการออนไลน์ คลิกที่นี่
จะเห็นได้ว่าการมี “ประกันชีวิตสะสมทรัพย์” ควบคู่ไปกับ “ประกันสังคม” ยังจำเป็นอยู่ในแง่ของการวางแผนชีวิตดีๆ หลังเกษียณ และนอกจากนี้จะยิ่งเสริมความคุ้มครองใหม่มากยิ่งขึ้นไปอีกหากมี “ประกันสุขภาพ” ในเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงการรักษา อัปเลเวลความคุ้มครองให้ครอบคลุมกว่าแบบเห็นๆ คลิกที่นี่