เมื่อเริ่มต้นทำงาน การวางแผนเกษียณเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรจะคิดและวางแผนเอาไว้ เพราะยิ่งวางแผนเร็วมากเท่าไร เรายิ่งเข้าถึงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เป็นหลักประกันในการใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคง
วันนี้เราขอชวนมนุษย์เงินเดือนมาวางแผนเกษียณแบบ Step-by-Step เพื่อบั้นปลายที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างตามใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินและสุขภาพ สามารถเดินทางท่องเที่ยวและทำกิจกรรมที่ชอบได้ เริ่มต้นวันนี้ได้เลย
ขั้นตอนวางแผนเกษียณขั้นตอนแรก ไม่ใช่การหาเงิน แต่เป็นการกำหนดเป้าหมายในการเกษียณ เพื่อที่จะได้วางแผนการเงินให้ไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใกล้เคียงกับความเป็นจริง
กำหนดระยะเวลาการเกษียณ
เราคงจะเคยได้ยินคนพูดว่า “ฉันจะเกษียณตอนอายุ 50 ปี” หรือบางคนบอกว่า “ฉันจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี” หรืออีกหลาย ๆ คนที่บอกว่า “ฉันอยากทำงานไปตลอดชีวิตไม่มีวันเกษียณ” ซึ่งแต่ละคนก็มีเป้าหมายและความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ตามความต้องการของเราได้เลย
อย่างไรก็ตาม ก่อนการวางแผนเกษียณ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่า “เกษียณ” หมายถึง การที่เราไม่มีรายได้ประจำอีกต่อไป ซึ่งเราอาจจะมีรายได้เป็นเงินปันผล หรือค่าเช่าเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เป็น Passive Income
ดังนั้น ขั้นตอนวางแผนเกษียณที่เราต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือ กำหนดอายุที่เราจะเกษียณ เมื่อได้อายุที่เราต้องการแล้ว ให้เรานำมาลบด้วยตัวเลขปัจจุบัน เพื่อดูว่าเรามีเวลาเก็บเงินอีกกี่ปี อย่างเช่น ปัจจุบันเราอายุ 30 ปี ต้องการจะเกษียณตอนอายุ 50 ปี และคิดว่าน่าจะมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 80 ปี แสดงว่า เรามีเวลาหาเงินอีก 20 ปี เพื่อเก็บไว้ใช้หลังเกษียณอีก 30 ปีนั่นเอง
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะมีชีวิตถึงกี่ปี?
แน่นอนว่าเราไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดแต่เราสามารถประเมินได้จากค่าเฉลี่ยอายุของคนในครอบครัวและค่าเฉลี่ยของคนในประเทศได้ เพราะมักจะมีกรรมพันธุ์และไลฟ์สไตล์ที่ใกล้เคียงกัน
กำหนดกิจกรรมที่เราต้องการทำหลังเกษียณ
ข้อดีอย่างหนึ่งของวัยเกษียณคือ ไม่ต้องทำงานประจำ ทำให้สามารถจัดสรรเวลาเพื่อทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การเป็นอาสาสมัคร การเรียนวาดรูป เรียนดนตรี เรียนภาษาที่ตนเองชอบ ดูซีรีส์ หรือใครอยากจะซื้อที่ดินเล็ก ๆ เอาไว้ทำสวนปลูกผัก เลี้ยงเป็ด ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ซึ่งให้เราลองกำหนดคร่าว ๆ ว่าเราอยากจะทำอะไรบ้าง เพื่อที่จะรู้ว่า เราจะต้องใช้เงินจำนวนเท่าไรหลังเกษียณ
ในขั้นตอนต่อไป ให้เราประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราจะต้องใช้หลังเกษียณ และรายได้ที่คาดว่าจะเข้ามาหลังเกษียณ
กำหนดจำนวนเงินที่จะใช้หลังเกษียณ
งบประมาณที่เราต้องการใช้หลังเกษียณ ควรแบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่ร่างกายของเราเริ่มถดถอย ต้องมีการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างดี ทั้งการตรวจสุขภาพประจำปี การออกกำลังกาย การเข้าคอร์สดูแลสุขภาพ การพบแพทย์เพื่อรักษาโรคประจำตัว ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถทำประกันสุขภาพเอาไว้ตั้งแต่วัยทำงานได้เช่นเดียวกัน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานอดิเรก เช่น การท่องเที่ยว เรียนเสริมเพื่อการทำงาน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมสุขภาพใจให้แข็งแรง
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าประกันต่าง ๆ ค่าซ่อมแซมบ้าน เงินฉุกเฉิน
หลังจากนั้น หากว่าเราได้จำนวนเงินคร่าว ๆ ให้เรานำจำนวนเงินมาคูณ 12 เดือน แล้วคูณด้วยจำนวนปี แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องคำนวณอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีด้วย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจในขณะนั้น โดยมากจะอยู่ที่ประมาณ 2-3% แต่ก็เคยมีบางปีที่ขึ้นไปถึง 7.66% เลยทีเดียว
ดังนั้นสูตรการคำนวณเงินเกษียณที่แนะนำ มีดังต่อไปนี้
(จำนวนเงินต่อเดือน x 12 x จำนวนปี) x (1 + อัตราเงินเฟ้อ) = จำนวนเงินที่เราจะต้องหา
หากว่าเราต้องการมีเงินใช้ 30,000 บาทต่อเดือนในวัยเกษียณ จำนวน 30 ปี คิดที่อัตราเงินเฟ้อ 3% จึงเท่ากับ (30,000 x 12 x 30) x (1 + 3%) = 10,800,000 x 1.03 = 11,124,000 บาท อาจจะเป็นจำนวนเงินที่ดูเยอะ แต่หากว่าเราเริ่มต้นไว มีการวางแผนเกษียณที่มีประสิทธิภาพ และมีวินัยทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถไปถึงเป้าหมายได้อย่างแน่นอน
ประเมิน Passive Income หลังเกษียณ
ลองมองดูว่าหลังจากเกษียณแล้วเราจะมีรายได้จากทางไหนบ้าง เช่น เงินบำนาญ เงินประกันสะสมทรัพย์ ประกันเกษียณ ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ เงินปันผลรายปี เพื่อการวางแผนเกษียณที่มีประสิทธิภาพ
สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงเมื่อเกษียณก็คือ รายได้จาก Passive Income ต่าง ๆ รวมถึงการจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เรามีรายได้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การทำประกันเกษียณหรือประกันบำนาญ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้เรามีการเงินที่มั่นคง โดยการประกันบำนาญจะจ่ายผลตอบแทนเป็นรายเดือน ตามช่วงอายุที่ได้ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์
ในการวางแผนเกษียณ นอกจากจะมองที่อนาคตแล้ว เราจะต้องประเมินสินทรัพย์ในปัจจุบันของเราด้วยว่ามีอะไรบ้าง ทั้งในส่วนของเงินออม การลงทุน บ้านและที่ดิน รวมถึงสินทรัพย์อื่น ๆ ที่เรามี เพื่อที่จะได้ประเมินได้ว่าเรามีสินทรัพย์เท่าไร สามารถแบ่งไปลงทุนได้อย่างไรบ้าง โดยเราสามารถแบ่งสินทรัพย์ออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
เงินสด คือ เงินที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีเงินฝากใด ๆ อยู่ในกระเป๋าเงินเรา หรือตู้เซฟภายในบ้าน
สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ ประกอบไปด้วยเงินฝากที่อยู่ในธนาคารทั้งหมด ตราสารหนี้ พันธบัตร หุ้นที่มีเงินปันผล กองทุนรวมต่าง ๆ อสังหาริมทรัพย์ที่ปล่อยเช่า หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีผลตอบแทน
สินทรัพย์ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต ทั้งที่มูลค่าเพิ่มขึ้นและลดลง เช่น บ้าน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โทรศัพท์มือถือ
สินทรัพย์อื่น ๆ ที่ไม่ได้สร้างรายได้ กล่าวคือ ไม่มีดอกเบี้ย หรือเงินปันผลใด ๆ เช่น ทองคำ แม้ว่าจะมีมูลค่ามากขึ้น แต่ไม่ได้ให้ผลตอบแทน
นอกจากการตรวจสอบสินทรัพย์แล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ หนี้สินต่าง ๆ ของเรา โดยให้เราลิสต์หนี้ต่าง ๆ ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ หรือหนี้บัตรเครดิต เพื่อที่จะประเมินสถานะทางการเงิน หากว่าเราหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน แสดงว่าเราจำเป็นต้องจำกัดการใช้เงิน ลดการสร้างหนี้ และพยายามชำระหนี้ให้หมด โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง
ในขั้นตอนวางแผนเกษียณนี้ แนะนำให้ลิสต์สินทรัพย์ และหนี้สินทั้งหมดลงในไฟล์ Microsoft Excel หรือ Google Sheet และอัปเดตเป็นประจำทุกเดือน เพื่อประเมินและปรับการวางแผนเกษียณของเราให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ต้องบอกก่อนว่า การวางแผนเกษียณยิ่งลงทุนเร็วยิ่งได้เปรียบ เพราะยิ่งมีเวลามาก ก็ยิ่งทำให้เรามีระยะเวลาหาเงินได้มากขึ้น
การวางแผนเกษียณ ด้วยการเก็บเงินเพื่อฝากประจำอาจไม่ตอบโจทย์เท่าไรนัก เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องสร้างพอร์ตการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนอย่างน้อย 8-10% ต่อปี โดยควรแบ่งเงินลงทุนตามระดับความเสี่ยงดังนี้
ความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวม ตราสารหนี้เอกชน
ความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น
อย่างไรก็ตาม ก่อนการลงทุน เราควรจะประเมินความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้ จากนั้นปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ที่สำคัญคือ เราควรจะทำประกันเกษียณ และประกันอื่น ๆ เอาไว้เพื่อลดความเสี่ยงด้านการเงินอีกด้วย
3 สไตล์การจัดพอร์ตการลงทุน
เราสามารถแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 สไตล์ ดังต่อไปนี้
พอร์ตเสี่ยงปานกลาง (Moderate) เหมาะกับคนที่มีภาระการใช้เงินจำนวนมาก แนะนำให้เก็บเป็นเงินฝากหรือการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ 20% ตราสารหนี้ 30% และตราสารทุนอีก 50%
พอร์ตเชิงรุก (Aggressive) เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีภาระ อายุน้อย รับความเสี่ยงได้มาก ให้ลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย อย่างการฝากเงิน 10% ตราสารหนี้ 20% และตราสารทุน 70%
นอกจากนี้ ให้เราหาความรู้ด้านการลงทุนและต่อยอดการลงทุนอยู่เสมอ เพราะทุกวันนี้มีรูปแบบการลงทุนใหม่ ๆ ให้เราเรียนรู้และศึกษาอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่เราจะได้ไม่ตกเทรนด์ และถึงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากเรื่องการลงทุนแล้ว ในขั้นตอนวางแผนเกษียณควรจะมีการวางแผนภาษีประจำปีอยู่ด้วย เพื่อลดภาระรายจ่าย และเพิ่มหลักประกันให้กับชีวิต
รัฐบาลไทยต้องการให้ประชาชนวางแผนทางการเงินและวางแผนเกษียณอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนที่วางแผนเกษียณ มอบสิทธิ์ลดหย่อน ให้กับผู้ที่มีการออมและลงทุนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ประกันบำนาญ
กองทุน RMF
กองทุน SSF
เงินสมทบประกันสังคม
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เบี้ยประกันสะสมทรัพย์ ประกันชีวิต และประกันสุขภาพอื่น ๆ ทั้งของตนเอง คู่สมรส และพ่อแม่มาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
ต้องการซื้อประกันเกษียณอายุ เพื่อการวางแผนเกษียณอย่างมีประสิทธิภาพ เอฟดับบลิวดีขอแนะนำแบบประกันบำนาญออนไลน์ Easy E-Retire 90/5 ใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบไร้กังวล ซื้อง่ายออนไลน์ ไม่ยุ่งยาก รับคุ้มครองทันที และสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท มีรายได้ใช้หลังเกษียณ หรือสนใจประกันสะสมทรัพย์อื่น ๆ