เมื่อภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น การแสวงหาทางเลือกในการลดภาระทางการเงินจึงเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสำคัญ ทำให้ ‘การรีไฟแนนซ์’ กลายเป็นอีกหนึ่งวิธี ที่สามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้นอย่างไม่ติดขัด แต่ในทางกลับกัน การจะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ก็เป็นขั้นตอนที่ต้องผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้การเงินคล่องตัวและปลอดภัยในระยะยาว
การรีไฟแนนซ์ (Refinancing) คือการที่ผู้กู้ยืมเงิน หรือมีหนี้สินเชื่อเดิมไปขอสินเชื่อใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการผ่อนชำระ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยหรือการขยายระยะเวลาผ่อนชำระให้ยาวขึ้น โดยการรีไฟแนนซ์สามารถช่วยให้ผู้กู้ประหยัดค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้การจัดการหนี้สินง่ายขึ้น จนมีเงินเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งการรีไฟแนนซ์มีหลายประเภท โดยถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้กู้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
เป็นการขอสินเชื่อใหม่จากสถาบันการเงินหนึ่งเพื่อชำระหนี้บ้านกับสถาบันการเงินเดิม โดยใช้อสังหาริมทรัพย์ (เช่น บ้านหรือคอนโด) เป็นหลักประกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บ้านหลังจากครบระยะเวลาดอกเบี้ยคงที่ (มักอยู่ในช่วง 3-5 ปีแรกของการกู้) ซึ่งหลังจากนั้นธนาคารมักปรับเป็นดอกเบี้ยลอยตัวที่สูงขึ้น
เป็นการขอสินเชื่อใหม่โดยใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์เป็นหลักประกัน เพื่อนำเงินก้อนใหม่มาชำระหนี้เดิม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเงินสดเพิ่มเติมจากส่วนต่างของราคาประเมินรถ หรือผู้ที่ต้องการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ เช่น ลดค่างวดรายเดือน
เป็นการรวมภาระหนี้สินหลายรายการ เช่น บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ให้กลายเป็นหนี้ก้อนเดียว เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตที่มักสูงกว่า 18% ต่อปี อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนการชำระเงินหลายบัญชีให้เหลือเพียงบัญชีเดียว
เมื่อเลือกการรีไฟแนนซ์ จะสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยได้ 3 รูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบมีลักษณะและข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยคงที่ หมายถึงดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุสัญญากู้ ไม่ว่าธนาคารกลางจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายหรือไม่ ทำให้ผู้กู้สามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายรายเดือนที่แน่นอนได้ แต่มักจะมีอัตราเริ่มต้นสูงกว่าดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงแรก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นใจในค่าใช้จ่ายและไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของตลาด
อัตราดอกเบี้ยลอยตัวจะเปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน หรือดัชนีทางเศรษฐกิจ เช่น MLR (Minimum Lending Rate) หรือ MRR (Minimum Retail Rate) โดยจะเริ่มต้นต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่ แต่อาจเพิ่มขึ้นในกรณีที่เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงขึ้นในระยะยาว เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้และต้องการเริ่มต้นด้วยดอกเบี้ยต่ำ
อัตราดอกเบี้ยแบบผสมคือการผสมผสานระหว่างอัตราดอกเบี้ยคงที่และลอยตัว โดยในช่วงเริ่มต้น (เช่น 3-5 ปีแรก) จะใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ และหลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว แต่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยในช่วงแรกที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่ทั่วไปเล็กน้อย และหากดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงหลังเพิ่มขึ้น อาจทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามไปด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสมดุลระหว่างความมั่นคงในช่วงแรกและความยืดหยุ่นในระยะยาว
การรีไฟแนนซ์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับกระบวนการและเอกสารที่ต้องใช้ โดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้
ดังที่กล่าวไปในข้างต้นว่า การรีไฟแนนซ์มักมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาเพื่อให้แน่ใจว่าคุ้มค่ากับการดำเนินการ โดยมีค่าใช้จ่ายหลัก ได้แก่
การรีไฟแนนซ์สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้จริง แต่ต้องพิจารณาเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่าการรีไฟแนนซ์จะสามารถช่วยให้การเงินคล่องตัวขึ้นได้โดยไม่เพิ่มภาระในระยะยาว
การรีไฟแนนซ์ คือทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปรับปรุงสภาพการเงินให้คล่องตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อดีข้อเสีย และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรีไฟแนนซ์
แต่นอกจากการรีไฟแนนซ์แล้ว หากต้องการวางแผนการเงินในระยะยาว ลองพิจารณาการออมเงินด้วยประกันสะสมทรัพย์ เพื่อสร้างทางเลือกที่มั่นคงในการเก็บเงินสำรอง เพื่อให้มั่นใจว่าเงินออมจะเติบโตอย่างมีหลักประกัน ขอแนะนำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ระยะสั้น Easy E-Save 10/5 จาก FWD ด้วยการจ่ายเบี้ยประกันเพียง 5 ปี ได้ลดหย่อนภาษีทุกปีแบบจัดเต็ม สูงสุด 100,000 บาท (ตามที่กรมสรรพากรกำหนด) สามารถสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ง่ายใน 5 นาที กรมธรรม์มีผลทันทีหลังชำระเงิน
ข้อมูลอ้างอิง: