ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นภาษี 2567 บทความนี้พร้อมตอบ รวบรวมสิ่งที่คุณควรรู้ไว้ให้ครบ อ่านจบสามารถเตรียมตัวยื่นได้อย่างถูกต้อง ติดตามได้เลย!
ปีใหม่ผ่านพ้นไป ก็เข้าสู่ช่วงเวลาของอีกเทศกาล ซึ่งเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีรายได้ทุกคนในประเทศไทย นั่นก็คือ “การยื่นภาษีประจำปี พ.ศ. 2567” อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ คนอาจไม่สนุกกับเทศกาลนี้ เนื่องจากการยื่นแบบภาษีมีความสลับซับซ้อน และต้องศึกษาหาข้อมูลพอสมควรถึงจะยื่นได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาเป็นตัวช่วยทุกคน ด้วยการมัดรวม 10 คำถามที่ต้องรู้ก่อนเสียภาษี 2567 ติดตามกันเลย
ก่อนจะตอบคำถามนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “การเสียภาษี” กับ “การยื่นภาษี” ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนที่ยื่นภาษีจะต้องเสียภาษี ส่วนใครที่ต้องยื่นภาษี 2567 บ้างนั้น คำตอบคือบุคคลสัญชาติไทยทุกคนที่เข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณมีรายได้เป็นเงินเดือนที่มากกว่า 26,583 บาทขึ้นไป หรือฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ตั้งแต่ 150,000 บาท นอกจากจะต้องยื่นแบบภาษีแล้ว ยังมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอีกด้วย ส่วนถ้าสงสัยว่าต้องจ่ายภาษีจำนวนเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีรายได้เท่าไร เพราะยิ่งมีรายได้มากก็ยิ่งต้องเสียภาษีมากตามอัตราขั้นบันได 5-35% ที่กฎหมายกำหนด
จากที่เมื่อก่อน การยื่นภาษีต้องเดินทางไปยังสำนักงานสรรพากรในพื้นที่ใกล้บ้านด้วยตนเอง ทว่าตอนนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่นภาษี กรมสรรพากรจึงเปิดโอกาสให้ยื่นแบบภาษีออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ E-FILING เรียกได้ว่าสามารถยื่นแบบภาษีได้โดยไม่ต้องก้าวขาออกจากบ้านกันเลย
สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2566 ที่ต้องมายื่นในปี 2567 นี้ ต้องแบ่งการอธิบายออกเป็น 2 แนวคำตอบ ดังต่อไปนี้
ก่อนที่จะสรุปว่าต้องเสียภาษี 2567 เท่าไร อย่าลืมนำจำนวนค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีกันด้วย ซึ่งก็มีหลายแนวทาง หลักเกณฑ์แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้
รายการเหล่านี้เป็นเพียงหลักเกณฑ์ส่วนหนึ่งที่ควรทราบก่อนยื่นภาษี 2567 เท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายแนวทางการลดหย่อนภาษี เช่นเงินบริจาค ไปจนถึงโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรมสรรพากร
ถ้าหากรายได้ของคุณมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากนายจ้าง หรือผู้ว่าจ้างไว้แล้ว สิ่งที่เรียกว่า “ใบ 50 ทวิ” คือเอกสารที่สำคัญอย่างยิ่งในการยื่นภาษี 67
อธิบายให้เข้าใจแบบกระชับ ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรได้ระบุไว้ว่า “ใบ 50 ทวิ คือหนังสือที่ผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจะออกให้กับผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เป็นหลักฐานการหักภาษี” ดังนั้น ถ้าหากไม่มีเอกสารฉบับนี้ ก็เป็นเรื่องยุ่งยากที่จะยืนยันกับกรมสรรพากรว่าภาษีของเราได้ถูกหักไปแล้ว
สำหรับผู้ที่ยื่นแบบภาษีไปแล้วพบว่ามีข้อผิดพลาดในการกรอกข้อมูล หรือได้รับเงินได้หรือรายจ่ายเพิ่มเติมภายหลังจากยื่นแบบแสดงรายการภาษีครั้งแรก สามารถทำการยื่นแบบเพิ่มเติมได้โดยการทำรายการใหม่ที่ถูกต้องไม่ทั้งหมดพร้อมแนบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในหน้าสุดท้ายของการทำรายการ
ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือที่เรียกว่า “ฟรีแลนซ์” คือผู้ที่ได้รับรายได้ในรูปแบบของสัญญาจ้าง ดังนั้น รายได้ของฟรีแลนซ์จึงจัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40 (2) ในประมวลรัษฎากร และต้องยื่นภาษี 67 ด้วยแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90
ถึงแม้จะเป็นเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงาน และมีรายได้มาไม่ครบ 1 ปี แต่เมื่อถึงช่วงเวลาของการยื่นภาษี ถ้าหากจำนวนรายได้เข้าเกณฑ์ตามที่กล่าวไปในข้อแรก ก็ต้องยื่นแบบภาษีเช่นกัน เนื่องจากเกณฑ์การยื่นคือเรื่องรายได้ ไม่ใช่เรื่องของอายุหรือระยะเวลาการทำงาน
ถ้าหากหักลบกันแล้ว จำนวนภาษีที่ต้องจ่ายมีจำนวนน้อยกว่าภาษีที่ได้มีการหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว รวมถึงการลดหย่อนต่าง ๆ ก็จะได้รับภาษีในส่วนที่จ่ายเกินไว้คืน โดยกรมสรรพากรจะโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกไว้กับระบบพร้อมเพย์ภายใน 3-5 วันทำการ หลักจากได้รับการพิจารณาคืนภาษีแล้ว
เนื่องจากการยื่นแบบและเสียภาษี 2567 คือหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนั้น หากไม่ปฏิบัติตามก็ย่อมมีบทลงโทษ ดังต่อไปนี้
เรียกได้ว่าบทความเดียวไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นภาษี 2567 ได้อย่างครบถ้วน และสำหรับใครที่กำลังมองหาตัวเลือกสำหรับเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนภาษีแนะนำ ทำประกันออนไลน์กับ FWD มีทั้งประกันสุขภาพและประกันชีวิตหลากหลายรูปแบบ ที่คุณสามารถเลือกให้ตรงกับเป้าหมายชีวิตปัจจุบัน สมัครง่าย จ่ายสะดวกผ่านบัตรเครดิต หรือจะสแกนจ่ายด้วยคิวอาร์โค้ดก็ง่าย เราจึงเป็นประกันชีวิตออนไลน์ ที่แบบประกันไม่ซับซ้อนเข้าใจง่าย และได้รับความไว้วางใจซื้อออนไลน์ได้เลย!
ข้อมูลอ้างอิง