ไม่ต้องรอให้ใครมาบอกว่าเป็นทายาทของมหาเศรษฐี เพราะเราเองก็สามารถเป็นคนสร้างมรดกให้คนข้างหลังใช้ต่อได้ และแน่นอนว่าการส่งต่อมรดกไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องมีมรดกระดับร้อยล้าน พันล้าน เพราะการจัดการมรดกที่ดีนั้น จะช่วยทำให้ครอบครัวและลูกหลานของเราได้สามารถนำมรดกที่เราให้ไว้นั้นไปต่อยอดให้งอกเงยได้ วันนี้เราจะมาบอกการเตรียมตัว เพื่อส่งมอบมรดกแบบยั่งยืน เป็นแนวทางให้สามารถจัดการมรดกได้อย่างลงตัว ไร้ปัญหา ตามวิธีการดังนี้
พินัยกรรมใครๆ ก็ทำได้ แถมไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดด้วย เพราะมรดกนั้นไม่ได้หมายถึงแค่เพียงเงินของคนที่เสียชีวิตไปแล้วเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ เช่น ที่ดิน, หนี้สิน, เงินปันผลจากหุ้น, กองทุน, หรือประกันต่างๆ สิ่งเหล่านี้ถ้ามีการทำพินัยกรรมเอาไว้ก็จะสามารถช่วยให้เหล่าทายาทนั้นจัดการมรดกได้ง่ายขึ้น ช่วยให้รู้ว่าใครมีส่วนในมรดกไหนบ้างอย่างชัดเจน
ซึ่งการมีพินัยกรรมยังช่วยลดปัญหาความวุ่นวายและยุ่งยากในการแบ่งมรดกของเหล่าทายาทอีกด้วย
วิธีเขียนพินัยกรรมแบบธรรมดาง่ายๆ
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนส่งต่อมรดก
1.สำหรับคนโสด โดยปกติหากไม่มีการเขียนพินัยกรรมไว้ กฎหมายจะส่งมอบมรดกของเราให้กับทายาทอันชอบธรรม ต้องดูก่อนว่าใครเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งก็คือทายาทประเภทญาติ ซึ่งมี 6 ลำดับด้วยกันคือ 1. ผู้สืบสันดาน 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน 5. ปู่ ย่า ตา ยาย และ 6. ลุง ป้า น้า อา ซึ่งลำดับที่ 1 และ 2 จะได้เท่ากัน กรณีที่ไม่มีผู้รับในลำดับ 1 และ 2 มรดกจึงจะส่งมอบให้ลำดับถัดๆ ไป หรือสามารถจัดการได้โดยการเขียนพินัยกรรม เพื่อกำหนดผู้รับมรดกและระบุสัดส่วนในการมอบได้เช่นกัน
2. สำหรับคนแต่งงานแล้ว ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าสินทรัพย์นั้นเป็นของส่วนตัว หรือ เป็นสินสมรส เพราะจะต้องทำการแบ่งให้กับคู่สมรสก่อน จากนั้นส่วนที่เหลือจึงจะเป็นทรัพย์มรดก ที่จะถูกจัดสรรให้กับทายาทโดยธรรม และคู่สมรส หรือให้กับผู้รับพินัยกรรมต่อไป
3. ในการรับมรดกนั้นจะมีเรื่องภาษีมรดก โดยเป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่ามรดกที่ทายาทได้รับมา ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีนั้น ได้แก่
โดยอัตราภาษีมรดกที่ต้องเสียจะคิดเฉพาะมูลค่ามรดกที่เกิน 100 ล้านบาท และยังมีบทลงโทษในกรณีที่ไม่ยื่นเสียภาษี หรือยื่นล่าช้าอีกด้วย
ใครว่าการสร้างมรดกไว้สำหรับส่งต่อให้ครอบครัวเป็นเรื่องไกลตัว สำหรับคนที่อยากวางแผนในการส่งต่ออนาคตหรือของขวัญเอาไว้ส่งต่อให้คนที่อยู่ข้างหลังได้อยู่อย่างสุขสบาย ก็สามารถทำได้โดยการทำประกันชีวิต โดยสามารถระบุชื่อและสัดส่วนของผู้รับผลประโยชน์ได้โดยตรง โดยแบบประกันที่เราแนะนำคือ ประกันชีวิตควบการลงทุน ซึ่งประกันชีวิตควบการลงทุนนั้น จะมอบทั้งความคุ้มครองชีวิตและโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน ให้คุณออกแบบพอร์ตการลงทุนได้อย่างอิสระ โดยสามารถเลือกกองทุนที่ชอบและบริหารจัดการพอร์ตเองได้ตามใจต้องการ และผลจากการที่เราทำประกันไว้ก็จะสามารถกลายเป็นมรดกตกทอดไปที่ทายาทผู้รับมรดกของเรา โดยสามารถเลือกแผนประกันชีวิตควบลงทุนที่เหมาะกับแผนการใช้ชีวิตของคุณได้เอง
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
การวางแผนเรื่องการจัดการมรดกนั้น ยิ่งถ้าเราคิดวางแผนเริ่มเร็วเท่าไหร่ ก็สามารถเพิ่มพูนได้เร็วยิ่งขึ้น เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนได้เร็วขึ้นนั่นเอง เป็นการต่อยอดความมั่นคงให้มรดกและทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างไร้กังวลเพราะได้เตรียมความพร้อมทุกด้านให้กับคนที่คุณห่วงใย เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมั่นคงแล้ว