สังคมสูงวัยมันไม่ใช่แค่สังคมที่มีคนแก่มากขึ้นเท่านั้น แต่การที่มีคนสูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มันย่อมส่งผลอะไรบางอย่างต่อสังคม เศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตของเราในอนาคตอย่างแน่นอน นั่นหมายความว่าพวกเราจะต้องเตรียมตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้ยังไงให้ได้รับผลกระทบน้อย หรือสามารถอยู่กับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้เป็นอย่างดี
Do you know?
ตั้งแต่ปี 2561 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุแซงหน้าประชากรเด็ก และคาดการณ์ต่ออีกว่าภายใน 3 ปี คนมีอายุ 70 ปีขึ้นไปจะเฉียด 5 ล้านคน เกิดเป็น Aging Society ซึ่งก็คือคำนิยามที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ในยุคที่คนสูงวัยจะครองเมืองแล้วมันสำคัญยังไง? ทำไมเราต้องรู้ ว่าเพราะอะไร กลุ่มแกงค์ชราไลน์ถึงได้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น วันนี้มารอดูข้อมูลกัน
ที่ว่าเป็นสังคมคนแก่ แก่แค่ไหน?
มองเผินๆในกลุ่มผู้สูงอายุ เราเห็นใครที่ผิวหนังเหี่ยวย่น มีผมขาว ก็มันจะเหมารวมไปเลยว่านั้นแหละคนมีอายุแต่จริงๆ แล้วมีการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงวัย ออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ได้แก่
ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาอยู่กันอย่างไรในสังคมสูงวัย
ถึงไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยแบบ 100% ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเขาก็จะมีวิธีการดูแลประชาชนของเขาในแบบต่างๆตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์มีการเพิ่มอายุเกษียณจาก 65 ปีเป็น 67 ปี หรือในเกาหลีที่ปรับการเกษียณอายุจาก 55 ปี ไปเป็น 60 ปี ส่วนญี่ปุ่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วนั้น มีแพลนว่าในปี 2568 จะขยายการเกษียณอายุเป็น 65 ปี จากเดิม 62 ปี
รับมือความไม่แน่นอนของวัยเกษียณ
สำหรับท่านที่อ่านข้อมูลอยู่ในตอนนี้ อีกไม่นานก็คงได้มีโอกาสสัมผัสกับการเป็น ส.ว. (สูงวัย) วิธีการอยู่ให้เป็นในสังคมแบบนี้ ดีที่สุดคือการต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อวันนั้นมาถึง อย่างการเตรียมตัวด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือการวางรูปแบบการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ เช่น การออมเงินเพื่อทรัพย์สินที่อยู่ อาศัย และรายจ่ายเพื่อการใช้ชีวิต รวมไปถึงการทำประกันสุขภาพ ซึ่งแผนเหล่านี้เราสามารถเริ่มคิดกันได้ตั้งแต่ช่วงยังเป็นวัยรุ่น เพราะเรายังมีแรงพอที่จะทำงานหาเงินอยู่ เมื่อเรามีเงินแล้วนอกเหนือจากการออมเพื่อสร้างฐานะของตัวเองได้ก็ควรแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาลงทุนในแผนเกษียณ เพื่อที่เราจะได้สามารถรับเงินบำนาญทุกปีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครบอายุ 55 ถึงอายุ 85 ปี แถมยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีส่วนเพิ่มเติมได้สูงสุด 300,000 บาท ตามที่กฎหมายกำหนดได้อีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม