การออม การลงทุน

เงินดิจิทัลคืออะไร ทำไมคนยุคใหม่ถึงนิยมเก็บเป็นสินทรัพย์?

FWD Thailand

เงินดิจิทัลคืออะไร ดีไหมหากเก็บเป็นสินทรัพย์?

จากที่เคยเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว ทว่าเมื่อรู้ตัวอีกที “เงินดิจิทัล” ก็กลับใกล้ตัวกว่าที่คิด กลายเป็นเรื่องที่คนในสังคมพูดคุยกันอย่างกว้างขวาง รวมถึงการที่มีคนจำนวนไม่น้อยที่นิยมเก็บสะสมเงินดิจิทัลในฐานะสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากคุณคือหนึ่งคนที่ยังไม่ทราบว่าเงินดิจิทัลคืออะไร เหมาะที่จะเก็บสะสมเป็นสินทรัพย์หรือไม่ แล้วจะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไร บทความนี้จะมาไล่เลียงอธิบายให้รู้กันแบบครบจบในที่เดียว ติดตามได้เลย

เงินดิจิทัลคืออะไร?

เงินดิจิทัลคือสกุลเงินที่ใช้ในระบบดิจิทัล ไม่สามารถจับต้องได้ โดยส่วนใหญ่แล้วเขียนขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชน และมักใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัส (Cryptography) ในการพิสูจน์และรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรม

รู้หรือไม่ บล็อกเชนคืออะไร?

บล็อกเชน (Blockchain) คือ เทคโนโลยีบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) ที่ใช้บันทึกข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ลงในบล็อก (Block) ต่อกันเป็นโซ่ (Chain) โดยแต่ละบล็อกจะมีข้อมูลธุรกรรม รหัสแฮชของบล็อกก่อนหน้า และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นในการยืนยันความถูกต้องของข้อมูล

โดยจุดเริ่มต้นของเงินดิจิทัล ต้องย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2552 เมื่อบุคคลลึกลับผู้ใช้นามแฝงว่า “Satoshi Nakamoto” ได้คิดค้นเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถสร้างสกุลเงินดิจิทัลที่ไร้ตัวกลางและไม่สามารถควบคุมโดยรัฐบาลหรือสถาบันการเงินได้ ก่อนที่จะให้กำเนิดบิตคอยน์ (Bitcoin) สกุลเงินดิจิทัลรุ่นแรกของโลกที่ออกโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โดยบิตคอยน์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและกลายเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน

หลังจากนั้นเป็นต้นมา ผู้คนก็หันมาสนใจเงินดิจิทัลกันมากขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พิมพ์ธนบัตรออกมาโดยไม่ยึดหลักการใช้ทองคำค้ำประกันอีกต่อไป ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นกับสกุลเงินจริง หรือที่เรียกกันว่า Fiat Money

ตรงกันข้ามกับสกุลเงินจริง เงินดิจิทัลหลากหลายสกุลมี Max Supply ที่ชัดเจน จึงมีจำนวนที่จำกัด ตัวอย่างเช่นบิตคอยด์ที่มีเพียง 21 ล้านเหรียญ จึงสามารถป้องกันภาวะเงินเฟ้อได้ อีกทั้ง เงินดิจิทัลส่วนใหญ่ยังถูกเขียนขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายอำนาจหรือ Decentrailzed จึงทำให้ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง รวมถึงไม่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล

ประเภทของเงินดิจิทัล

นอกจากเงินดิจิทัลที่ถูกเขียนขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชน Decentrailzed แล้ว ยังมีเงินดิจิทัลประเภทอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน โดยหลัก ๆ แล้วสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

คริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency): เงินดิจิทัลประเภทนี้คือประเภทแรก และเป็นที่รู้จักมากที่สุด มีลักษณะเด่นคือ ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการบันทึกข้อมูลธุรกรรม ทำให้มีความโปร่งใสและไม่สามารถปลอมแปลงได้ ตัวอย่างคริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับความนิยม ได้แก่ บิตคอยน์ (BTC) อีเธอเรียม (ETH)

เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency): ถึงแม้จะเป็นเงินดิจิทัลเหมือนกัน แต่ความหมายแตกต่างกับคริปโทเคอร์เรนซีโดยสิ้นเชิง โดยเงินดิจิทัลประเภทนี้คือสกุลที่ออกโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดยจุดประสงค์คือเพื่อใช้แทนเงินสกุลจริง หรือ Fiat Money มุ่งหวังความเสถียร ให้นำเงินเหล่านี้ไปใช้ซื้อสินค้าบริการ ไม่ต้องการให้ผู้คนซื้อขายกันเพื่อเก็งกำไร มีรัฐบาลเป็นผู้ออกและควบคุม ตัวอย่าง CBDC ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ e-CNY ของธนาคารกลางจีน

Stablecoins: จริง ๆ แล้ว Stablecoins ก็เป็นหนึ่งในคริปโทเคอร์เรนซีเช่นกัน เพียงแต่มีความพิเศษคือการที่มีมูลค่าอ้างอิงกับสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น เงินตราต่างประเทศ ดังนั้น จึงมีมูลค่าที่ค่อนข้างคงที่ ผู้คนจึงไม่นิยมซื้อเพื่อเก็งกำไร แต่นำมาเป็นตัวกลางในการใช้จ่ายในโลกบล็อกเชนเป็นหลัก

คนรุ่นใหม่เรียนรู้เกี่ยวกับเงินดิจิทัล

การเก็บเงินดิจิทัลในรูปแบบสินทรัพย์

จากรายงานการสำรวจโดย Grayscale Investments หนึ่งในบริษัทด้านลงทุนคริปโตเคอร์เรนซี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เผยให้เห็นว่า 55% ของคนที่ลงทุนในทองคำ ได้เพิ่มบิตคอยด์ลงไปในพอร์ตการลงทุนของพวกเขาด้วย และจำนวนนั้นมีจำนวนกว่า 72% ที่เชื่อว่า เงินดิจิทัลอย่างบิตคอยด์จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบการเงินโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า

เช่นเดียวกับข้อมูลของ CoinMarketCap พบว่า มูลค่าตลาดคริปโตรวมทั่วโลก ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 มีมูลค่าประมาณ 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากมูลค่าประมาณ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในการเก็บคริปโตในฐานะสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลนี้ยังบ่งบอกชัดเจนว่า มีคนจำนวนไม่น้อย และโดยส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ นิยมเก็บเงินดิจิทัลอย่างคริปโตเคอร์เรนซี่ในฐานะสินทรัพย์ประเภทหนึ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ

คำถามคือ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

แน่นอนว่าคงไม่สามารถตอบชี้ชัดสั้น ๆ ได้ แต่เมื่อนำเหตุผลดังต่อไปนี้มาประกอบกัน ก็น่าจะทำให้เข้าใจเรื่องนี้ได้กระจ่างยิ่งขึ้น

เหตุผลที่คนนิยมเก็บเงินดิจิทัลในรูปแบบสินทรัพย์

ผลตอบแทนที่สูง: ตามกฎ High Risk, High Return คริปโตเคอร์เรนซี่มีการผันผวนที่สูง ดังนั้นจึงให้ผลกำไรที่สูงเช่นเดียวกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วมากกว่าทองคำ กองทุน หรือสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ

ความโปร่งใสและความปลอดภัย: คริปโตทำงานบนระบบบล็อกเชน ซึ่งเป็นระบบบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ทำให้มีความโปร่งใสและปลอดภัยสูง ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนมองว่าคริปโตเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลกลาง

โอกาสการเติบโตของมูลค่า: คริปโตเป็นสินทรัพย์ใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง นักลงทุนบางคนจึงมองว่าคริปโตมีศักยภาพที่จะแทนที่เงินสกุลดอลลาร์หรือสกุลเงินอื่น ๆ ในอนาคต

กระจายความเสี่ยงจากเงินดิจิทัล สู่การออมเงินระยะยาวแบบเสี่ยงน้อย

จริงอยู่ที่เงินดิจิทัลคือสินทรัพย์ที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้นกฎ High Risk, High Return เพราะโอกาสเสี่ยงที่จะขาดทุนก็มีมากเช่นกัน ดังนั้น สำหรับใครที่ต้องการออมเงินระยะยาวแบบเสี่ยงน้อย ไม่ขาดทุนแน่นอน การซื้อประกันสะสมทรัพย์จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการสร้างความมั่นคงทางการเงิน เอฟดับบลิวดีขอแนะนำ ประกันสะสมทรัพย์ออนไลน์ อีซี่ อี-เซฟ 10/5 จ่ายเบี้ยฯ เพียง 5 ปี ลดหย่อนภาษีได้ทุกปีเต็ม ๆ สูงสุด 100,000 บาท (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร) สิ้นปีที่ 1-5 รับเงินคืน 4% ของทุนประกัน และสิ้นปีที่ 6-9 รับเงินคืน 5% ของทุนประกัน ซื้อออนไลน์ได้ ไม่ต้องเตรียมเอกสารให้ยุ่งยาก ง่ายเพียงกรอกข้อมูล ก็ได้รับความคุ้มครองทันที

ข้อมูลอ้างอิง:

1. Bitcoin’s Current Holders Are New, With 55% Getting in This Year

2. Today's Cryptocurrency Prices by Market Cap