การออม การลงทุน

5 วิธีลดหย่อนภาษี ที่วัยทำงานต้องรู้!

FWD Thailand

เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน นอกจากภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่คนวัยทำงานทุกคนต้องทำเป็นประจำทุกปี ก็คือเรื่องของการจ่าย "ภาษี" ซึ่งเชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วทุกคนก็มักจะเลือกจ่ายไปตามที่ฝ่ายบุคคลหรือกรมสรรพากรคิดมาให้ เพราะมองว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และไม่ต้องมาเสียเวลาไปกับการคิดคำนวณด้วยตัวเองให้ปวดหัว แต่รู้หรือไม่ว่า เราสามารถวางแผนการจ่ายภาษีและหาวิธี "ลดหย่อน" เพื่อให้เราจ่ายภาษีได้น้อยลง แถมยังได้เงินคืนกลับมาอีกด้วย!

บทความนี้เราขอชวนวัยทำงานทุกคนมารู้จักกับ 5 วิธีลดหย่อนภาษี ที่อาจช่วยให้คุณมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น ติดตามกันได้เลย

ค่าลดหย่อนภาษี คืออะไร?

ค่าลดหย่อนภาษี คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้

รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

ซึ่งโดยปกติแล้ว สิทธิพื้นฐานที่คนเสียภาษีทุกคนจะได้รับ ก็คือค่าลดหย่อนส่วนตัวคนละ 60,000 บาท แต่หากเราหาวิธีลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ ก็จะช่วยให้เราประหยัดเงินได้มากขึ้น และยังได้สิทธิประโยชน์ดี ๆ ตามมาอีกมากมาย

ทำไมเราจึงควรหาวิธีลดหย่อนภาษี?: แนะข้อดีของการวางแผนลดหย่อน

  • ช่วยให้จ่ายภาษีได้น้อยลง
    โดยปกติแล้ว คนทุกคนที่มีเงินเดือนประจำตั้งแต่ 120,000 บาท/ปี หรือมีรายได้ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ 60,000 บาท/ปี ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ก็จำเป็นต้องเสียภาษี ยิ่งเรามีรายได้มาก ก็ยิ่งต้องเสียภาษีมากขึ้น แต่แน่นอนว่ารัฐบาลเองก็ไม่ได้ใจร้าย เพราะหากเราวางแผนลดหย่อนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ ในช่วงต้นปี ก็จะช่วยให้เราลดหย่อนภาษีได้มาก ทำให้เราจ่ายภาษีได้น้อยลง และประหยัดเงินได้มากขึ้น
  • ช่วยให้มีเงินเหลือมากขึ้น
    อย่างที่เราได้แนะนำไปแล้วว่า การวางแผนภาษีนั้นจะช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลง และยังอาจไม่ต้องจ่ายภาษีเลยหากลดหย่อนได้เต็มอัตรา ดังนั้นจึงช่วยให้เรามีเงินเหลือเก็บในแต่ละปีมากขึ้น ซึ่งเงินที่เหลือในส่วนนี้เอง ที่เราสามารถนำไปใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ หรือนำไปเก็บออม รวมถึงอาจนำไปลงทุนเพิ่มเติม เพื่อให้เรามีรายได้เพิ่มมากขึ้น

  • ได้ผลประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี
    เพราะวิธีลดหย่อนภาษีนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกองทุนรวม การซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนการจับจ่ายซื้อสินค้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งแต่ละวิธีล้วนเป็นวิธีที่เราได้ผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น โดยรัฐบาลเองก็จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีลดหย่อนภาษีไปเรื่อย ๆ ทุกปี หากเราคอยติดตามและวางแผนลดหย่อนภาษีให้ดี ก็จะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่แน่นอน

สเต็ปวางแผนภาษีสำหรับวัยทำงาน

ผู้ชาย วัยทำงาน หาข้อมูล ลดหย่อนภาษีคืออะไร

สเต็ปที่ 1 ประเมินรายได้

สเต็ปแรกในการวางแผนภาษี ให้เราเริ่มต้นจากการประเมินรายได้ที่ได้รับตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าคอมมิชชัน หรือโบนัส เพื่อดูว่าเราจะต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่

สเต็ปที่ 2 ศึกษาสิทธิ์ต่าง ๆ ในการลดหย่อนภาษี

โดยปกติแล้วเราทุกคนจะมีสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 3 ส่วน ได้แก่ สิทธิ์ลดหย่อนขั้นพื้นฐาน, สิทธิ์ลดหย่อนเพื่อการออมและการลงทุน และสิทธิ์ลดหย่อนเพื่อการบริจาค ซึ่งนอกจากสิทธิ์เหล่านี้ ในแต่ละปีก็ยังมีสิทธิ์อื่น ๆ ที่เราสามารถใช้ลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีกมากมาย

สเต็ปที่ 3 วางแผนการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี

เมื่อเรารู้แล้วว่า มีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีใดบ้างที่เราสามารถใช้ได้ สเต็ปสุดท้ายก็คือการวางแผนลดหย่อน เช่น เลือกซื้อประกันชีวิตลดหย่อนภาษี หรือใช้สิทธิ์จับจ่ายซื้อของตามที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งแนะนำว่าเราควรจะวางแผนตั้งแต่ช่วงต้นปี เพื่อให้เราใช้สิทธิ์ได้เต็มที่ ลดหย่อนได้เต็มอัตรา

สรุปรายการลดหย่อนภาษี ที่คนวัยทำงานต้องรู้

  • ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

○ ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

○ ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท

○ ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท

○ ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท

○ ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส
คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน

○ ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการ
หรือบุคคลทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

○ เงินประกันสังคม ไม่เกิน 6,300

○ ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

○ ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ
ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท

○ ประกันสุขภาพของบิดามารดา
ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

○ ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

○ เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10%
ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

○ เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม
เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ
สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10%
ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

○ เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

○ ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หรือดอกเบี้ยที่จ่ายเพื่อซื้อบ้าน
ซื้อคอนโด สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ถ้าปีนั้นๆมีโครงการ

○ โครงการ "ช้อปดีมีคืน" สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท
เมื่อซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตามช่วง
เวลาที่โครงการกำหนดไว้ โดยสินค้าที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), สินค้า OTOP และ สินค้าหมวดหนังสือและ E-Book

ผู้หญิงวัยทำงาน ซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง?

รูปแบบการยื่นภาษีมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน และ ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น โดยจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90
  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)

  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต

เมื่อเรารู้แล้วว่า เราจะสามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วยวิธีใดบ้าง ก็ต้องไม่ลืมวางแผนการใช้สิทธิ์เหล่านั้นให้ดี เพื่อให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลดหย่อนภาษี ซึ่งหากใครที่สนใจการซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ขอแนะนำ Easy E-Save 10/5 ประกันออมทรัพย์ระยะสั้น ที่ให้คุณจ่ายเบี้ยสั้น ๆ เพียง 5 ปี คุ้มครอง 10 ปี พร้อมลดหย่อนภาษีได้ทุกปีแบบเต็ม ๆ แถมยังได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน นอกจากจะได้ลดหย่อนภาษีแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเก็บออมเพื่ออนาคต โดยที่คุณไม่ต้องสละความสุขส่วนใหญ่ในชีวิต ซื้อสะดวกผ่านออนไลน์