สุขภาพและกีฬา

ชีวิตดี ๆ มีได้ แค่รู้เทคนิคพิชิตโรคเครียด

12/04/2565
ผลงานที่ดี และชีวิตดี ๆ ก็ต้องออกมาจากสุขภาพกายและใจที่ดี ดังนั้นนอกจากการดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอแล้ว เราก็ต้องดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรงตามไปด้วย 

แน่นอนว่าในแต่ละวันเราอาจจะต้องเจอกับความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากเรามีความเข้าใจและรู้วิธีที่จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสมแล้ว มันก็จะเป็นเหมือนเกราะป้องกันที่ดีให้ใจของเราห่างไกลจากโรคเครียดได้เช่นกัน 

มาทำความรู้จัก ‘โรคเครียด (Stress)’ กัน


 
โรคเครียด (Stress) คือโรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นเมื่อเรามีความเครียดมากเกินไป อาจเกิดขึ้นจากการถูกบีบคั้น กดดัน หรืออยู่ในสถานการณ์ไม่คาดฝัน ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดหัว คลื่นไส้ เศร้าหมอง วิตกกังวล ตัดสินใจอะไร ๆ ได้ช้าลง หรืออาจมีผลต่อสมาธิและความทรงจำด้วย โดยความเครียดแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. ความเครียดเฉียบพลัน (Acute Stress Disorder) คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือไม่ทันตั้งตัวมาก่อน เช่น อาการตกใจ ความกลัว การสูญเสีย และอุบัติเหตุ

2. ความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress Disorder) คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ จากชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งร่างกายจะไม่แสดงอาการออกมาแต่จะสะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นความเครียดเรื้อรังที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม
ways-to-reduce-stress-3.webp

ภาวะที่เกิดจากโรคเครียด

แม้ว่าโรคเครียดจะดูไม่อันตรายเท่าโรคทางจิตเวชอื่น ๆ แต่หากเป็นติดต่อกันในระยะยาว ก็อาจจะพัฒนาไปเป็นภาวะทางจิตเวชอื่น ที่ร้ายแรงได้เหมือนกับภาวะต่อไปนี้

1. ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment Disorders)
เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีความเครียดจากการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ เช่น การย้ายสถานที่อยู่หรือทำงาน การปลดเกษียณ การตกงาน เป็นต้น ซึ่งคนที่มีภาวะนี้จะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสถาการณ์ปัจจุบันได้ และในบางรายอาจมีภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวลร่วมอยู่ด้วย

2. ภาวะวิตกกังวล (Anxiety Disorder)
ความเครียดจากบางสถานการณ์อาจส่งผลให้เกิดภาวะวิตกกังวลได้ เช่น ปัญหาครอบครัว หรือการทำงานที่ติดขัด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระวนกระวาย ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม ตกใจง่าย และรู้สึกกังวลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโดยทั่วไปร่างกายจะสามารถจัดการกับภาวะนี้ได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว แต่หากเรามีอาการในลักษณะนี้มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป เราควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาอย่างเร่งด่วน

3. ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง หรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)
คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีความเครียดเฉียบพลันจากเหตุการรุนแรงมาก ๆ เช่น อุบัติเหตุ ความสูญเสีย หรือสงคราม โดยภาวะนี้จะพบบ่อยในกลุ่มทหารผ่านศึกที่กลับมาจากสงคราม หรือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรง โดยอาจส่งผลให้เกิดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า เห็นภาพหลอน หรือมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่รุนแรง

4. ภาวะซึมเศร้า (Depressive Disorder)
การมีความเครียดติดต่อกันในระยะยาว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าได้ จากความรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง และไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งหากถูกปล่อยปละละเลยและไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ก็อาจพัฒนาไปเป็นพฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้
ways-to-reduce-stress-4.webp

วิธีดูแลตัวเองเมื่อรู้สึกเครียด

ความเครียดส่งผลต่อหลาย ๆ อย่างในชีวิตเรา ทั้งประสิทธิภาพในการทำงาน คนรอบข้าง อารมณ์ ไปจนถึงสุขภาพโดยรวม ดังนั้นเราควรหาวิธียกความเครียดออกจากอกให้เร็วที่สุดด้วยวิธีต่อไปนี้

ways-to-reduce-stress-1.webp

สำหรับใครที่พยายามเท่าไหร่ก็ไม่หายเครียดสักที และรู้สึกว่าตัวเองมีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์อย่างเร็วที่สุดเพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษาอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อชีวิตที่มีความสุขขึ้นของตัวเราและคนที่เรารักนั่นเอง

อ้างอิง
- เช็กบิลความเครียด - กรมสุขภาพจิต
- ต้องมี “ความเครียด” แค่ไหน ที่ถึงเวลาเราต้องพบจิตแพทย์ - กรมสุขภาพจิต
- ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment Disorder) - RamaMental
- 5 ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง - กรมสุขภาพจิต
- ภาวะ "เครียด" จากวิกฤติโควิด เช็กอาการเบื้องต้น หลายคนเผชิญโดยไม่รู้ตัว - กรมสุขภาพจิต