สุขภาพและกีฬา

ประกันสังคมและประกันสุขภาพ แพ็กคู่ครอบคลุมครบกว่า

sso-health-insurance-2.jpg

ประกันสุขภาพ

ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่ผู้เอาประกันจะได้รับจากบริษัทประกัน ตามวงเงินและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่นความคุ้มครองผู้ป่วยใน (IPD) ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) หรือความคุ้มครองโรคร้ายแรง โดยผู้ทำประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกันภัยเพื่อแลกกับความคุ้มครองนี้ การตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ จึงถือเป็นเรื่องการบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยและการสูญเงินเก็บจากการนำไปรักษาตัว มากกว่าการที่จะคิดว่าความคุ้มค่าคือการที่ต้องป่วยจริงๆ

เอฟดับบลิวดีมีแพ็กเกจ และสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพที่เหมาะเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ดี เพราะมีให้เลือกทั้งความคุ้มครองครบทั้งผู้ป่วยใน (IPD) ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) และโรคร้ายแรงต่างๆ รวมไปถึงโรคอุบัติใหม่ ไม่ว่าป่วยหนักหรือป่วยเบาครอบคลุมทุกค่ารักษา คลิกที่นี่

sso-health-insurance-3.jpg

ประกันสังคมและประกันสุขภาพ ต่างอย่างลงตัว

  • โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
    ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐตามที่ได้ทำการเลือกไว้เท่านั้น (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินสามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล) สามารถย้ายประกันสังคม หรือเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ปีละ 1 ครั้งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคมของทุกปีผ่านทาง www.sso.go.th

    ในขณะที่ผู้ทำประกันสุขภาพ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องโรงพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษา สามารถเข้ารักษาที่ไหนก็ได้ตามรายชื่อโรงพยาบาลในเครือข่ายของบริษัทประกัน และหากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลนอกเครือข่ายก็ยังสามารถทำได้แต่อาจต้องมีการออกค่าใช้จ่ายไปก่อนแล้วค่อยมาทำเรื่องยื่นเคลมกับบริษัทประกันอีกครั้ง (เงื่อนไขความคุ้มครองตามที่แบบประกันกำหนด) 

  • ความคุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยนอก (OPD)
    กองทุนประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องมีความตามจำเป็นและเห็นสมควรในกรณีที่ผู้ประกันตนเข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐตามที่ได้เลือกไว้ หากเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนจะจ่ายให้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท

 

ผู้ทำประกันสุขภาพเข้ารับการรักษาตามวงเงินและเงื่อนไขของประกันสุขภาพที่ได้ทำไว้กับบริษัทประกัน ลูกค้าเอฟดับบลิวดีที่มีความคุ้มครองหากรักษาตัวที่โรงพยาบาลในเครือข่ายและคลินิกกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ก็รับการรักษาได้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า แต่ถ้ารักษาที่โรงพยาบาลนอกเครือข่าย ก็สามารถยื่นเคลมแบบออนไลน์ได้เองจากที่บ้าน เอกสารครบรู้ความคืบหน้าใน 3 วันทำการ และรอรับเงินเข้าบัญชีในอีก 3 วันทำการหลังอนุมัติ ยื่นเคลมออนไลน์ คลิกที่นี่

sso-health-insurance-4.jpg

หลายคนอาจคิดว่า มีประกันสังคมแล้วไม่ต้องมีประกันสุขภาพก็ได้ แต่ความจริงประกันทั้ง 2 แบบแอบแตกต่างกันเบาๆ มีทั้งคู่เอาไว้อุ่นใจกว่า อัปเลเวลความคุ้มครองให้ครอบคลุมกว่าแบบเห็นๆ


ประกันสังคม สิทธิที่วัยทำงานทุกคนต้องมี

ประกันสังคม คือสวัสดิการภาคบังคับขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแรงงานของกลุ่มคนมีรายได้ โดยลูกจ้างและนายจ้างมีหน้าที่ต้องทำการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกกับคุ้มครองลูกจ้างจากการเจ็บป่วยจากการทำงานและนอกเหนือจากการทำงาน ลูกจ้างแบบเราๆ หรือพนักงานที่ได้จ่ายค่าประกันสังคมทุกเดือน ในระบบประกันสังคมจะถูกเรียกว่า ผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 พนักงานประจำที่มีอายุมากกว่า 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ พนักงานประจำที่ลาออกงานแล้ว (เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน) แต่ยังต้องการรับสิทธิประกันสังคมโดยต้องแจ้งสำนักงานประกันสังคมภายใน 6 เดือนหลังมีการแจ้งออกจากงาน และต้องส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 คนที่ทำอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ที่มีอายุมากกว่า 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 มาก่อน

  • ความคุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยใน (IPD)
    หากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐที่เลือกไว้ กองทุนประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรค หากเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนจะจ่ายให้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ส่วนค่ารถและค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท

    ลูกค้าเอฟดับบลิวดีที่มีความคุ้มครองผู้ป่วยในหากรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายและคลินิกตามรายชื่อกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ก็รับการรักษาได้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า ส่วนวงเงินและเงื่อนไขความคุ้มครองก็ขึ้นอยู่กับแบบประกันที่ทำไว้นั่นเอง

     

  • สิทธิประโยชน์ทางภาษี
    ประกันสังคมหักลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท ยกเว้นปีไหนครม. มีมติลดเงินสมทบประกันสังคมอัตราพิเศษ ก็จะทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประกันสังคมได้ถึง 9,000 บาทนั่นเอง ส่วนเบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาทเมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วไม่เกิน 100,000 บาท อาจมีเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรในอนาคต

ข้อดีของการมีประกันสุขภาพ + ประกันสังคม

  • ประกันสุขภาพเลือกรูปแบบการคุ้มครองได้ด้วยตัวเอง เลือกวงเงินค่ารักษาพยาบาลได้ตามต้องการ หรือเลือกรับความคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงก็ยังได้
  • เบาใจเรื่องค่ารักษา เจ็บป่วยตอนไหนก็รักษาโรงพยาบาลที่ใกล้และสะดวกได้ทันที
  • เพิ่มโอกาสในการเข้ารับการรักษาที่รวดเร็วกว่า
  • เบี้ยประกันสุขภาพ นำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท *อาจมีเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร*

จะเห็นได้ว่าการมี ประกันสุขภาพ” ควบคู่ไปกับ “ประกันสังคม” ยังจำเป็นอยู่เพราะสิทธิการรักษาของประกันสังคมนั้นมีเงื่อนไขจำกัด การมีประกันสุขภาพติดตัวเพิ่มเติมจากสิทธิประกันสังคมที่มีจึงเหมือนคุณล็อคประตูป้องกันสุขภาพ ไว้ 2 ชั้นนั่นเอง