อย่างไรก็ตาม การหักโหมออกกำลังกายโดยไม่มีเวลาให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองย่อมไม่เป็นผลดี ทั้งการฝืนร่างกายให้ใช้แรงหนักเกินรับไหวอาจส่งผลเสียมากกว่า วิธีที่ดีที่สุดคือ การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับความฟิตของตัวเอง ถ้าเราเพิ่งเริ่มต้น ก็ควรออกกำลังกายในระดับเบา อย่างการวิ่งเหยาะ ๆ สลับเดิน ว่ายน้ำ หรือการเดินเร็ว เป็นระยะเวลาต่อเนื่องสัก 20 นาทีก็เพียงพอ แล้วค่อย ๆ ไต่ระดับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเดือนถัดไป ไม่ต้องรีบร้อน ที่สำคัญคือ ต้องมีการวอร์มอัพและคูลดาวน์เสมอ ให้เวลาให้ร่างกายได้พัก 2-4 วันต่อสัปดาห์ และอย่าลืมรับประทานอาหารให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการด้วย
นอกเหนือจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (aerobic) ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจและปอด เราควรเสริมการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค (anaerobic) หรือการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากในเวลาสั้น ๆ เข้าไปเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และเสริมความอึดทนโดยรวมของร่างกาย อย่างเช่นการยกน้ำหนัก HIIT หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่คล้ายกัน
การออกกำลังกายที่ดูเคลื่อนไหวอย่างสง่างามอย่างโยคะและพิลาทิสก็เป็นไอเดียที่ดีในการเสริมความแข็งแรงให้ร่างกาย หากใครไม่เคยลองก็อาจคิดว่าเป็นการยืดเหยียดสบาย ๆ แต่อันที่จริงแล้วใช้แรงไม่น้อยเลยแหละ แถมยังเป็นการผสมผสานระหว่างการออกกำลังแบบแอโรบิคและแอนแอโรบิค เสริมความแข็งแรงได้ทั่วทั้งร่ายกาย ใช้พื้นที่น้อย เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาออกไปวิ่งบ่อย ๆ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ร่างกายสดใส มีพลังทั้งกายและใจมากขึ้น แถมยังได้สุขภาพที่แข็งแรง อย่างไรก็ตาม การเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดอยู่เสมอ การมี
ประกันสุขภาพ จาก FWD ช่วยให้คุณคลายความกังวลใจ ยามเจ็บป่วยเมื่อไหร่ ก็มี FWD คอยดูแลอยู่เสมอ
อ้างอิง
- ออกกำลังกายอย่างไรดี?
- Self-help tips to fight tiredness
- เหนื่อยง่าย