สุขภาพและกีฬา

นอนน้อยแต่นอนพอหรือเปล่านะ?

คนนอนน้อยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่เพียงแต่มีพลังไม่เต็มร้อย แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวอีกด้วย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า วันนี้คุณนอนพอหรือเปล่า?

 

หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าเวลาที่เหมาะสม คือ 8 ชั่วโมง แต่ความจริงแล้วถ้าคุณหลับอย่างมีคุณภาพหรือนอนหลับลึกพอ อาจจะใช้เวลาเพียง 5-6 ชั่วโมงก็ถือว่าเป็นการนอนที่เพียงพอแล้วก็ได้

 

การนอนหลับที่มีคุณภาพ

จำนวนชั่วโมงที่นอนไม่ใช่ตัววัดว่านอนพอหรือไม่ การนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นคือ การนอนหลับด้วยจิตใจที่ผ่อนคลาย ไม่เครียด ทำให้ร่างกายสามารถหลั่งฮอร์โมน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเมื่อตื่นขึ้นมาแล้วต้องรู้สึกสดชื่น

fwd_aug_article9_2732x1537_v1-04-1.webp

อาการของคนที่นอนไม่พอ


1. ใต้ตาคล้ำ
สัญญาณแรกที่บ่งบอกได้ทันทีเมื่อนอนหลับไม่พอคือ ใต้ตาคล้ำซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายเนื่องจากเส้นเลือดที่ไหลผ่านบริเวณผิวหนังใต้ตาของเราเป็นผิวที่บางมาก และจะยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนเพลีย นอนน้อย เครียด เพราะหลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นนั่นเอง

fwd_aug_article9_2732x1537_v1-01-1.webp
2. หงุดหงิดง่าย
การนอนน้อยทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมตัวเองต่ำลง มีผลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียว โมโหร้ายกว่าคนปกติทั่วไป และเสี่ยงต่อการตัดสินใจผิดพลาดได้
fwd_aug_article9_2732x1537_v1-05-1.webp
3. เซื่องซึม เชื่องช้า
การนอนน้อยติดต่อกันส่งผลให้สมองมีการตอบรับต่อสิ่งรอบข้างได้น้อยลง ช้าลงกว่าคนที่นอนเต็มอิ่ม ทำให้ดูเซื่องซึม พูดจาช้า พูดไม่รู้เรื่อง คิดช้า ไม่มีเหตุผล
fwd_aug_article9_2732x1537_v1-06-1.webp

4. อ้วนง่าย

ยิ่งนอนดึกมากเท่าไร ยิ่งส่งผลให้ร่างกายเกิดความอยากอาหารมากขึ้นเท่านั้น และระบบย่อยอาหารในช่วงกลางคืน ก็มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารต่ำกว่าช่วงกลางวัน เพราะร่างกายมีการเคลื่อนไหวน้อย ต้องใช้เวลาในการย่อยนานกว่าปกติ ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย อ้วนง่าย เสี่ยงต่อภาวะกรดไหลย้อน โรคลำไส้อักเสบ ท้องอืด อาเจียน

fwd_aug_article9_2732x1537_v1-02-1.webp

5. เจ็บป่วยบ่อย
การนอนหลับพักผ่อนเป็นการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเอง ซึ่งหากใช้เวลานอนไปทำกิจกรรมอื่นๆ เท่ากับเป็นการแย่งเวลาพักฟื้นของร่างกาย ทำให้ฮอร์โมนหลั่งผิดปกติ ฮอร์โมนที่ดีหลั่งได้น้อยลง ภูมิคุ้มกันต่ำตามไปด้วย จึงไวต่อเชื้อโรค เกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย

 

หนทางสู่การนอนหลับที่มีคุณภาพ
เมื่อเอนตัวลงนอนแล้วให้หยุดคิดเรื่องที่เครียด ไม่สบายใจ ดังนั้นก่อนนอน ลองเขียนสิ่งที่ทำให้คุณไม่สบายใจ อะไรที่เราแก้ไขได้ และอะไรที่เราแก้ไขไม่ได้ เรื่องที่แก้ไขไม่ได้เราต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง จัดการกับความทุกข์ อย่ายึดติดกับเรื่องที่ทำให้เราเป็นทุกข์ และหาเวลาพักผ่อนบ้าง จะช่วยให้ผ่อนคลายและหลับได้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพมากขึ้น