สุขภาพและกีฬา

กินดึกอ้วนง่าย ทำร้ายร่าง

“พฤติกรรมการกินดึก” หรือการกินอาหารตั้งแต่ช่วง 22.00 น. เป็นต้นไป อาจจะเกิดจากความจำเป็นที่คาดเดาได้ยากในแต่ละวัน ทั้งเรื่องงานที่เลิกไม่เป็นเวลา รถติดกว่าจะถึงบ้าน บางครั้งก็มีงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือแม้กระทั่งเกิดจาก "ความหิว" ที่ชอบแวะมาทักทายยามค่ำคืน หลายคนเลือกจบปัญหานี้ด้วยการตามใจปาก หรือคิดว่าถ้ากินอะไรเบาๆ คงไม่เป็นอะไรมั้ง


การกินอาหารตอนดึก ไม่ว่าจะมากหรือน้อยแค่ไหน ไม่ได้มีแค่เรื่องของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังผลเสียโดยตรงต่อร่างกาย และเปรียบเสมือนการจุดชนวนทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

fwd_aug_article13_2732x1537_v1-03-1.webp
กินดึกทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน
เมื่อกินดึกก็ย่อมตามมาด้วยการนอนดึกมากขึ้นนั่นเอง และต้องใช้เวลาอีก 1-2 ชั่วโมงกว่าจะนอนหลับสนิท พฤติกรรมนี้ส่งผลกระทบกับ “โกรทฮอร์โมน” (Growth Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนสำคัญมากในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เมื่อโกรทฮอร์โมนหลั่งออกมาผิดปกติหรือลดน้อยลง จึงเป็นทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง และโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายบอบบาง เช่น เนื้อเยื่อ กระดูก ผิวหนัง เป็นต้น
fwd_aug_article13_2732x1537_v1-01-1.webp
กินดึก ตัวการทำให้เกิดโรคเรื้อรัง
ในขณะที่ร่างกายไม่สามารถผลิตโกรทฮอร์โมนได้เพียงพอ ยิ่งกินมื้อดึกติดต่อกันบ่อยๆ ยิ่งทำให้ร่างกายต้องผลิต “อินซูลิน” ในปริมาณที่มากขึ้นตามไปด้วย เพื่อนำมาใช้เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และไขมันจากอาหารที่เรากินเข้าไป อินซูลิน จึงเปลี่ยนอาหารทั้งหมดให้กลายเป็นพลังงาน และไขมันสะสมในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังนานาชนิด เช่น โรคอ้วน โรคไขมันในเส้นเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตัน คอเลสเตอรอลสูง ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ และมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันด้วย
fwd_aug_article13_2732x1537_v1-04-1.webp

กินดึก ผิวจะเหี่ยวย่นดูแก่กว่าวัย
การกินดึกคือการทำร้ายผิวโดยไม่ตั้งใจเพราะ “ฮอร์โมนเมลาโทนิน” ฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้รู้สึกง่วงนอน ที่ร่างกายสร้างได้ในขณะเรานอนหลับ ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ ช่วยชะลอวัย เมื่อร่างกายผลิตเมลาโทนินน้อยลง ความเสื่อมของผิวเกิดเร็วขึ้นกว่าปกติ เห็นชัดได้จากผิวพรรณที่ดูคล้ำไม่สดใส มีริ้วรอยเหี่ยวย่น ดูแก่กว่าวัย นอกจากนั้นยังจะมีฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “เกรลิน”  (Ghrelin) หลั่งออกมามากขึ้น ร่างกายจะรู้สึกอยากอาหารตลอดเวลาในช่วงกลางคืน ระบบภายในร่างกายไม่เผาผลาญไขมันเก่า ทั้งยังสะสมไขมันใหม่เพิ่มเข้าไปเรื่อยๆ

 

การกินมื้อดึกส่งผลเสียอย่างมากมาย หากคุณต้องการให้ร่างกายกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเองในอนาคต ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับรูปแบบการใช้ชีวิต เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากการดูแลสุขภาพให้ดีแล้ว ควรเลือกทำ ประกันสุขภาพ ที่พร้อมให้ความคุ้มครองหากเกิดการเจ็บป่วย หรือ โรคต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึงขึ้นในอนาคต ให้คุณได้ใช้ชีวิตเต็มที่ พร้อมความอุ่นใจแบบไร้กังวล