สุขภาพและกีฬา

วิธีให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็งอย่างสร้างสรรค์

พูดไม่เก่ง แสดงออกไม่เป็น ถ้าอยากให้กำลังใจคนที่คุณรักและห่วงใยที่กำลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง ควรเริ่มต้นอย่างไรดี

fwd-feb21-articlebanner-2732x1537-2.jpg

แม้ผู้ป่วยจะกำลังใจดี และการรักษาเป็นไปด้วยดีแค่ไหน ก็ยังมีบางวันที่รู้สึกเหนื่อยและท้อแท้ได้ ดังนั้นหากคุณต้องการให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัว อันดับแรกเลยคุณต้องหัดสังเกตสถานการณ์ และควรให้ความสำคัญกับคำพูดหรือการแสดงออกที่อาจจะกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวได้ แล้วคำพูดหรือการแสดงออกแบบไหนที่ทำให้เกิดความลำบากใจบ้าง? เรามีคำแนะนำว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด เพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

fwd-feb21-articlebanner-2732x1537-1_(1).jpg

วิธีให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็งอย่างสร้างสรรค์

  1. ไม่ควรตัดสินทางเลือกของเขา

    “ถ้าเป็นฉันจะทำแบบนี้….” หรือ “ทำไมไม่รักษาแบบนี้” หรือ “ทำไมไม่หาหมอคนนี้” คำพูดทำนองนี้เป็นการเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เพราะคุณกำลังไปบอกเค้าว่า การตัดใจสินของเขาไม่ถูกต้อง ในความเป็นจริงคุณไม่ควรพยายามที่จะแก้ไขปัญหาให้เขา โดยการตัดสินว่าสิ่งที่เค้าเลือกเป็นทางเลือกที่ผิด

    คุณควรฟังอย่างตั้งใจ และเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการจะบอก ความรู้สึกที่เขาต้องการจะสื่อสารและเลือกใช้คำถามปลายเปิดเพื่อแสดงออกถึงความสนใจ เช่น “แล้วคุณหมอให้คำแนะนำเรื่องนี้ว่าอย่างไร”

  2. อย่าเจ้าอารมณ์จนเกินพอดี

    ต่อให้กำลังใจดีแค่ไหนก็แพ้ทางให้กับคนเจ้าน้ำตา การที่ผู้ป่วยมีกำลังใจที่ดี และเล่าเรื่องการรักษาของเขาให้คุณฟัง แล้วคุณกลับร้องไห้สะอึกสะอื้นอย่างหนัก จะยิ่งบั่นทอนความมั่นใจในตัวผู้ป่วย จำไว้ว่าหน้าที่คุณคือการรับฟังอย่างเข้าใจเป็นบ่าให้ซบหากผู้ป่วยร้องไห้ 
  3. อย่าคิดไปเองว่าเค้าต้องการความช่วยเหลือ

    การที่เพื่อนและคนในครอบครัว ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในการจัดการเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ทำความสะอาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง เรื่องเหล่านี้คนใกล้ตัวมักรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่พอจะช่วยได้ ไม่ได้ลำบากอะไร แต่...สำหรับบางคนคุณอาจกำลังตอกย้ำว่าเขาป่วย จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันในแบบเดิม ๆ ได้ ดังนั้นคุณควรถามก่อนที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือจะดีกว่า 
  4. เปรียบเทียบปัญหาของเขากับคนอื่น

    “คนที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ยังหายเลย” จำไว้ว่าแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาการของโรคและระยะของโรคก็แตกต่างกัน การที่คุณใช้คำพูดในลักษณะนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ปัญหาหรือความรู้สึกของเขาไม่สำคัญ หรือเขาไม่ควรหรือไม่มีสิทธิ์ที่จะรู้สึกกังวลใจเพราะมีคนอื่นที่มีปัญหามากกว่า แทนที่จะพูดเกี่ยวกับปัญหาของคนอื่น ลองสร้างให้การสนทนานั้นเป็นพื้นที่ที่ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจที่จะพูดเรื่องของเขา โดยมีเราเป็นผู้ฟังที่ดี 
  5. จำไว้ “คุณไม่ใช่หมอ”

    สารพัดคำแนะนำการรักษาที่คุณเจอในกูเกิ้ล หรือได้ยินคนอื่น ๆ เล่ามา ไม่ต้องไปบอกผู้ป่วย คุณไม่ใช่หมอ! คุณเป็นคนที่คอยสนับสนุนการตัดสินใจของเขา มีหน้าที่รับฟัง เป็นอ้อมกอดที่อุ่นใจ แต่อย่าแนะนำวิธีการรักษาที่คุณเจอในกูเกิ้ลให้เขาเด็ดขาด เพราะมันอาจเป็นข้อมูลที่ผิด และเขาอาจจะตัดสินใจผิดเพราะคุณก็เป็นได้
fwd-feb21-articlebanner-2732x1537-3.jpg

คำแนะนำในการพูดให้กำลังใจเหล่านี้ สามารถใช้พูดกับผู้ป่วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ทุกโรค รวมไปถึงโรคซึมเศร้า และผู้ที่กำลังประสบกับความทุกข์ และการสูญเสียคนที่รักไป ความเจ็บปวดลักษณะนี้ไม่ได้หายไปได้ง่ายๆ ไม่ต้องกังวลว่าคุณจะไปพูดอะไรที่ไม่ดีเข้าจนถึงขนาดไม่พูดอะไรเลย แทนที่จะเงียบไปลองเปลี่ยนเป็นการให้กำลังใจเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เขารู้ว่าเราอยู่ข้างเขาเสมอ รับฟังความทุกข์ใจที่เขากำลังเผชิญอยู่ และสุดท้ายแล้วทุกคนก็ล้วนต้องการกำลังใจกันทั้งนั้น

 นอกจากเรื่องกำลังใจแล้ว คุณอาจจะได้ยินผู้ป่วยและครอบครัวเล่าให้ฟังเรื่องค่ารักษาที่แพงหูฉี่ในระดับที่แตะหลักล้านได้ไม่ยาก หากคุณเองรู้สึกหวั่นๆ ใจว่าถ้าหากเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเราและครอบครัวหละ จะหากทางออกอย่างไรดี ทางเลือกที่น่าสนใจคือการทำประกันคุ้มครองโรคมะเร็งแบบมีเงินก้อนให้ทันทีที่ตรวจพบเพื่อที่สามารถนำเงินก้อนนั้นมาวางแผนในการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และมีค่ารักษาคีโม ฉายแสงเพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง ประกันมะเร็งแคนเซอร์ พลัส 

  • แผนเดียวเอาอยู่ คุ้มครองมะเร็งทุกระยะ
  • ตรวจพบมะเร็งระยะลุกลามรับเงินก้อนสูงสุดถึง 3 ล้านบาท
  • ตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มต้นรับเงินก้อน 1,500,000 บาท และรับเพิ่มอีก 1,500,000 บาทเมื่อตรวจพบมะเร็งระยะระยะลุกลาม
  • รับเงินชดเชยรายวัน 1,000 บาทต่อวัน (สูงสุด 700 วัน) สำหรับผู้ป่วยใน
  • ค่าทำคีโม ฉายแสง เพื่อรักษามะเร็งระยะลุกลามกรณีผู้ป่วยนอก จ่ายตามจริงสูงสุดถึง 1,200,000 บาท
  • ค่าเบี้ยประกันภัยบางส่วนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (เป็นไปตามประกาศของกรมสรรพากร)
แชร์