การออม การลงทุน

5 เทคนิควางแผน Early Retirement เกษียณเร็วอย่างมีสุข

FWD Thailand

Early Retirement หรือ การเกษียณอายุได้เร็วที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข เป็นหนึ่งในความใฝ่ฝันของใครหลายคน เนื่องจากการเกษียณอายุเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้พักจากการทำงานหนักมาเป็นเวลานาน และได้ทำในสิ่งที่เรารักโดยไม่ต้องกังวลเรื่องใด ๆ แต่สำหรับบางคน การเกษียณอายุอาจหมายถึงช่วงเวลาที่สิ้นสุดรายได้ และต้องใช้ชีวิตอย่างประหยัด อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า อยากที่จะเกษียณอายุได้เร็วแถมได้ใช้ชีวิตอย่างที่ตนเองหวังไว้ในช่วงบั้นปลาย ก็สามารถทำได้จริง เพียงแต่ต้องวางแผนให้ดีและเตรียมตัวให้พร้อม บทความนี้จะมาแนะนำวิธีการเกษียณเร็วให้มีสุข แต่จะเป็นอย่างไร ติดตามกันได้เลย 

Early Retirement คืออะไร?

การเกษียณอายุถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของคนทำงาน เพราะเป็นช่วงเวลาที่จะได้หยุดพักจากการทำงานประจำและใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ บางคนอาจเลือกที่จะใช้เวลาหลังเกษียณไปกับการท่องเที่ยว บางคนอาจเลือกที่จะทำงานต่อในอาชีพอิสระหรือทำงานจิตอาสา และบางคนอาจเลือกที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ยิ่งถ้าใครที่วางแผนเกษียณอายุเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ สิ่งที่คุณอยากจะทำก็อาจเกิดขึ้นได้เร็วยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า Early Retirement 

Early Retirement คือ การเกษียณอายุก่อนอายุ 60 ปี ซึ่งเป็นอายุเกษียณอายุตามปกติในประเทศไทย สำหรับผู้ที่เลือก Early Retirement มักจะมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตที่ไม่ต้องทำงาน ไม่ต้องเร่งรีบ ไม่ต้องเครียด โดยจะใช้เงินออมหรือการลงทุนต่าง ๆ เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

พาส่องเหตุผลที่คนอยากเกษียณเร็ว ๆ

●     อยากใช้ชีวิตอย่างอิสระ ได้ทำในสิ่งที่รักโดยไม่ต้องกังวลเรื่องงาน

●     อยากมีเวลาให้กับครอบครัวและคนรักมากขึ้น

●     อยากมีเวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่

●     อยากมีโอกาสได้ทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่อยากทำ แต่ไม่มีเวลาทำตอนทำงาน

●     สุขภาพร่างกายยังแข็งแรง สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่

●     อยากเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ

มารู้จักกับประเภทของการเกษียณเร็ว Early Retire

Voluntary Early Retirement

เป็นประเภทการเกษียณก่อนกำหนดที่เป็นการตัดสินใจของพนักงาน หรือสมัครใจลาออกเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ในหลายบริษัทจะมีการจัดทำโครงการสมัครใจลาออก (VER) ให้กับพนักงานในช่วงที่องค์กรมีการปรับโครงสร้าง หรือต้องการลดจำนวนพนักงาน ซึ่งพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เช่น เงินชดเชยพิเศษ บำนาญพิเศษ หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร เพื่อให้มีเงินเก็บเพียงพอที่จะใช้จ่ายตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ได้

อย่างไรก็ตาม พนักงานที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการนี้ ควรศึกษาถึงเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของโครงการอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจเข้าร่วมด้วย

Involuntary Early Retirement

เป็นประเภทการเกษียณก่อนกำหนดโดยไม่สมัครใจ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่มีโครงการเกษียณเร็วประเภทนี้ มักเกิดจากการที่นายจ้างเลิกจ้างพนักงานก่อนกำหนด และอาจเกิดขึ้นโดยกะทันหัน ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น องค์กรมีการปรับโครงสร้าง ลดจำนวนพนักงาน หรือเลิกจ้างเนื่องจากผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้า เป็นต้น ซึ่งพนักงานที่ถูกเลิกจ้างก่อนกำหนดจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย แต่อาจมีไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายตลอดชีวิตที่เหลืออยู่

จะเห็นได้ว่า รูปแบบการ Retirement สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งหากเรามีการวางแผนเกษียณเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และรอบคอบ ก็จะทำให้เราไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ทั้งยังสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพต่อไปได้

RetirementFreedom.jpg

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อน Early Retire เกษียณเร็วให้มีสุข อยู่สบาย

1. ประเมินอายุเกษียณและอายุขัย

การวางแผนเกษียณอายุที่ดี จำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เงินเก็บ สุขภาพร่างกายและจิตใจ เป้าหมายในชีวิตหลังเกษียณอายุ รวมถึงการประเมินอายุเกษียณและอายุขัย โดยอาจจะพิจารณาได้จากสุขภาพ พฤติกรรมการใช้ชีวิต สภาพแวดล้อม เป็นต้น จากนั้นจึงเริ่มวางแผนการเงินสำหรับช่วงเกษียณอายุ เพื่อตอบรับกับอนาคตในขั้นตอนต่อไป

2. คำนวณค่าใช้จ่ายหลัง Early Retire

การคำนวณค่าใช้จ่ายหลัง Early Retire มีความสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนเกษียณอายุให้มีสุข เพราะจะช่วยให้อยู่สบายได้มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะมีน้อยกว่าค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณประมาณ 30% (ตัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องการทำงาน หรือค่าเข้าสังคมออกไป) โดยจะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น และอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอย่าง ค่าเดินทาง ค่าท่องเที่ยว ค่าสุขภาพ ค่าการศึกษา เป็นต้น

สูตรคำนวณค่าใช้จ่าย = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 เดือน x จำนวนปีอายุหลังเกษียณ

ตัวอย่างเช่น คาดว่าจะมีอายุหลังเกษียณไปอีก 20 ปี และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท สรุปได้ว่า จะต้องมีเงินออมเพื่อใช้อย่างน้อย 2,800,000 บาท (20 x 12 x 12,000) หลังจากนั้นก็เริ่มตรวจสอบเงินออมที่มีอยู่ เพื่อคำนวณว่าเรายังขาดเงินออมไปอีกเท่าไหร่

3. มองหาประกันสุขภาพ

เพราะสุขภาพของเรามีเพียงหนึ่งเดียว เราจึงควรรักษาไว้ให้ดี โดยเฉพาะในช่วงหลังเกษียณอายุ ทำให้อาจต้องเริ่มมองหาประกันสุขภาพเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะอาจสูงถึงหลักแสนหรือหลักล้านบาทต่อปีก็เป็นได้ ดังนั้น การทำประกันสุขภาพไว้ จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรอบคอบ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพหลังเกษียณอายุ

4. วางแผนเกษียณด้วยการลงทุน

นอกจากการออมเงินด้วยการฝากธนาคารและได้รับดอกเบี้ยประจำแล้ว การให้ความสนใจในเรื่องการลงทุนก็อาจช่วยสร้างความมั่งคงทางด้านการเงินได้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากการลงทุนเป็นไปตามเป้าหมาย เงินที่เราลงไปอาจจะกลายเป็นเงินก้อนที่สามารถนำมาใช้จ่ายหลังเกษียณอย่างมีความสุขได้เช่นกัน

โดยขอแนะนำว่า สำหรับคนที่อยู่ในวัยทำงาน ควรวางแผนการเงินเอาไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะยังมีระยะเวลาในการลงทุนอีกนาน และรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างดี โดยควรมองหาแผนการลงทุนในแบบระยะยาว มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้สามารถรักษาเงินต้นไว้ได้ และมีเวลาให้เงินเติบโต รวมถึงเลือกแผนที่มีผลตอบแทนสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่อง เช่น กองทุนรวม ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา เป็นต้น

FinancialFreedom.jpg

5. งานอดิเรกหลัง Early Retire

ในการวางแผนเพื่อเกษียณเร็ว สิ่งสำคัญที่นอกเหนือจากเรื่องวางแผนการเงิน คือการใช้ชีวิต ลองเริ่มมองหากิจกรรมที่อยากทำ หรืองานอดิเรกที่สนใจ เพื่อสร้างความสุขในชีวิตแต่ละวัน หรือถ้าจะให้ดี ลองหางานอดิเรกหลังเกษียณที่สามารถสร้างรายได้ทำ ก็จะช่วยให้เรามีเงินใช้ในบั้นปลายได้สบายมากขึ้น

สำหรับใครที่ต้องการ Early Retirement อย่างมีความสุข สามารถเริ่มต้นด้วยการทำประกันเกษียณออนไลน์กับ FWD Easy E-Retire 90/5 ที่ให้คุณเลือกเกษียณอายุได้อย่างสบายใจ จ่ายเบี้ยฯสั้นแค่ 5 ปี พร้อมยิ้มรับกับเงินบำนาญ ตั้งแต่อายุ 60-90 ปี และต่อยอดการใช้ชีวิตวัยเกษียณให้มั่นคง แถมยังอุ่นใจกับความคุ้มครองหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน และที่สำคัญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท ตามที่สรรพากรกำหนดอีกด้วย ทั้งหมดนี้เพื่อความสุขง่าย ๆ ในทุกวันกับการใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ตามที่คุณต้องการ

แหล่งอ้างอิง

How to Retire Early: 7 Steps. The Mother Fool. สืบค้นวันที่ 3 พ.ย. 2566. จาก https://www.fool.com/retirement/strategies/how-can-i-retire-early/

วางแผนเกษียณ. ธนาคารกรุงเทพ. สืบค้นวันที่ 3 พ.ย. 2566. จาก https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Tips-and-Insights/Retirement-Planning

วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชีวิตมั่นคงทางการเงิน. ธนาคารออมสิน. สืบค้นวันที่ 3 พ.ย. 2566. จาก https://www.gsb.or.th/article/วางแผนเกษียณอย่างไรให้/

7 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ Early Retire. ธนาคารกรุงศรี. สืบค้นวันที่ 3 พ.ย. 2566. จาก https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/life/retirement/7-things-you-must-know-before-early-retire

Share